Page 53 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 53
36 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
เห็นไดหรือไมวา สังคมมองเห็นเกยในฐานะของผูชายที่ปฏิเสธความเปนชาย
จึงใชคําอธิบายพฤติกรรมทางเพศของเกยคําเดียวกับที่ใชกับผูหญิง
ดวยการใหคุณคากับเรื่องเพศภาวะที่ตางกันอยางเปนสองระดับ ที่
สะทอนผาน “ความเจาชู” หรือการที่สังคมใหอํานาจกับผูชายเปนใหญในการ
ควบคุมเรื่องเพศทั้งของตนเอง และของคูที่เปนผูหญิงนี้ ผลที่เกิดตามมาคือ
ภาวะเสี่ยงตอปญหาสุขภาพทางเพศตางๆ ทั้งปญหาเรื่องการที่ผูหญิงถูกกระทํา
ความรุนแรงทางเพศ ถูกลอลวง หรือถูกบังคับใหมีเพศสัมพันธ เพื่อตอบสนอง
ความตองการของผูชาย ปญหาเรื่องการทองไมพรอม และความเสี่ยงตอการรับ
เชื้อโรคติดตอทางเพศสัมพันธตางๆ และเอชไอวี/เอดส ปญหาเรื่องอคติและ
การเลือกปฏิบัติตอการจัดบริการทางดานสุขภาวะทางเพศใหกับบุคคลที่มี
เพศสัมพันธกับเพศเดียวกัน กลาวคือ ในดานหนึ่งแมจะมีการตั้งสถานบริการ
สุขภาพที่ใหบริการดานสุขภาพทางเพศกับชายรักชายขึ้นมาโดยเฉพาะ แต
ในอีกดานหนึ่งก็ใหขอมูลตอกย้ําอคติทางสังคมที่มีตอบุคคลรักเพศเดียวกันวา
ชายรักชาย หรือชายที่มีเพศสัมพันธกับชาย เปนกลุมเสี่ยงที่ตองเฝาระวัง เพราะ
เปนกลุมที่แพรกระจายเอชไอวี/เอดส ดวยการมีเพศสัมพันธแบบเปลี่ยนคูนอน
ไมซ้ําหนา ในทางกลับกันการที่สังคมไมมีขอมูลที่มากพอเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ
ทางเพศ หรือไมไดใสใจกับพฤติกรรมทางเพศของผูหญิงที่มีเพศสัมพันธกับ
ผูหญิง ก็ทําใหบุคคลกลุมนี้ถูกตัดออกไปจากระบบบริการสุขภาพทางเพศโดย
ปริยาย ไมวาพวกเธอจะมีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงหรือไมก็ตาม
จาก “ขุนแผน” ถึง “วันทอง (สองใจ)” ทั้งหมดนี้สะทอนใหเห็นภาพมุมมอง
ทัศนคติ และการใหคุณคา ตลอดจนสถานะของความเปนหญิงความเปนชาย
ในสังคมไทยที่แตกตางกัน ตราบใดก็ตามที่คนในสังคมยังคงไมพิจารณา
ใหเห็นถึงระบบคุณคาที่ไมเทาเทียมทางเพศ ดังตัวอยางที่สะทอนใหเห็นจาก
นัยของคําตางๆ ที่กลาวมานี้ บุคคลไมวาจะมีอัตลักษณทางเพศภาวะ หรือ
อัตลักษณทางเพศวิถีแบบไหนก็ตาม ก็ยอมตองตกอยูภายใตความเสี่ยงอันเกิด
จากความไมเทาเทียมทางเพศ และยังคงตองเผชิญกับปญหาเรื่องความ
สัมพันธในแบบเดิมๆ อยูตอไปอยางไมมีวันสิ้นสุด
สุไลพร ชลวิไล