Page 51 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 51

34   ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ

                               และการดําเนินความสัมพันธทางเพศของบุคคลรักตางเพศเทานั้น แตยังสงผล
                               ตอเพศวิถีของบุคคลรักเพศเดียวกันดวย เพราะบุคคลรักเพศเดียวกันก็รับเอา
                               อิทธิพลจากคานิยมในเรื่องเพศภาวะที่แบงเปนสองขั้วตรงขาม (คือชาย และหญิง)

                               มาใชในเพศวิถีของตนเองเชนเดียวกัน เชน การที่ทอมสวนใหญแสดงการปฏิเสธ
                               ความเปนหญิงตามที่สังคมคาดหวัง ดวยการยึดเอาคุณคาความเปนชายมา

                               ประกอบสรางอัตลักษณความเปนทอม และหนึ่งในการพิสูจนคุณคาของความ
                               เปนชายนั้นก็คือ ความเจาชู สวนผูที่เปนเกย ความเปนชายเปดโอกาสใหพวกเขา
                               มีอิสระเสรีในการแสดงออกเรื่องเพศอยูแลว แตยิ่งพวกเขาใชชีวิตทางเพศอยาง
                               อิสระเสรีมากเทาไร ก็ยิ่งเพิ่มอคติตอพฤติกรรมทางเพศของเกยมากขึ้นเทานั้น

                                     การที่เพศสัมพันธของเกย ทอม ดี้ และบุคคลรักเพศเดียวกันที่มี
                               อัตลักษณทางเพศอื่นๆ เปนเพศสัมพันธที่เปนไปเพื่อตอบสนองความสุขทาง
                               เพศ ไมไดมีเปาหมายเพื่อการสืบพันธุ ทําใหสังคมประเมินคาความสัมพันธ
                               ของคนรักเพศเดียวกันวา เปนความสัมพันธที่ไมจีรังยั่งยืน คอยแตจะเปลี่ยนคู

                               เพศสัมพันธไปเรื่อยๆ ตางจากเพศสัมพันธระหวางชายหญิงที่มีเปาหมายเพื่อ
                               การมีบุตร ซึ่งพฤติกรรมเชนนี้เปนพฤติกรรมอันตราย และนําไปสูความเสี่ยง
                               ในเรื่องโรคติดตอทางเพศสัมพันธตางๆ เปนตัวการในการแพรโรครายใหกับ
                               สังคม กลาวไดวาสังคมตัดสินและใหคุณคากับเรื่อง “ความเจาชู” ของบุคคลที่มี

                               อัตลักษณทางเพศแบบตางๆ ดวยมาตรฐานที่แตกตางกัน


                               จาก “ผูหญิงหลายใจ” ถึง “ผูชายเจาชู”
                               ภาษาของความไมเทาเทียมที่สงผลตอสุขภาพ


                                     ในขณะที่สังคมอนุญาตใหผูชายเจาชูได โดยใหเหตุผล (ซึ่งมักจะไดรับ
                               การรับรองดวยคําอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร หรือจิตวิทยาเขามาประกอบ) วา
                               เพราะผูชายมีแรงปรารถนา แรงขับทางเพศที่จําเปนตองปลดปลอยมากกวา แต

                               กลับควบคุมเรื่องเพศของผูหญิงอยางเครงครัด ภายใตคําวา“รักนวลสงวนตัว”
                               และ “รักเดียวใจเดียว” นํามาซึ่งความไมเทาเทียมทางเพศ และปญหาดาน
                               สุขภาวะทางเพศหลายประการ ตัวอยางที่แสดงถึงมุมมองที่แตกตาง และ
                               การเลือกปฏิบัติทางเพศ เชน


                                                         สุไลพร ชลวิไล
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56