Page 56 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 56
สวนที่ 1 เพศภาวะ: สินสอด 39
เพราะถือวาผูหญิงเปนทรัพยสมบัติของพอแม ผูชายจึงตองชดใชคาเสียหายให
กับผูเปนเจาทรัพย สวนในอีกมาตราหนึ่งนั้นหากทั้งคูไดมีเพศสัมพันธกันไปแลว
ก็ถือเสมือนวาหญิงนั้นเปนภรรยาชาย ในกรณีที่ชายตายหญิงก็จะเปนผูรับ
ทรัพยสิน (ในที่นี้คือสินสอด) ไป แตหญิงคูหมั้นนี้ยังไมมีสิทธิเต็มในความเปน
เมียในการไดรับมรดกจากชาย เพราะยังไมไดอยูกินกับชายอยางเปนทางการ
ตามระยะเวลาที่กฎหมายกําหนด
ที่มาของธรรมเนียมในการเรียกสินสอดนั้น กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
บิดาแหงกฎหมายไทย สันนิษฐานวาโดยทั่วไปวิธีการที่ผูชายจะไดผูหญิงมาเปน
ภรรยานั้นมีอยูสองวิธีคือ “การฉุดลาก” และ “การซื้อขายหญิง” ซึ่งวิธีการของ
ชาวสยามนาจะเปนอยางหลังมากกวา เนื่องจากสินสอดทองหมั้นเปนสิ่งที่มี
มานานแลว เปรียบเทียบไดวา ทองหมั้นคลายกับเงินที่วางประจําจะซื้อของ
4
และสินสอดก็คือราคาที่ชายซื้อหญิงมา
ในสวนของการกําหนดคาสินสอด เปรียบไดกับการกําหนดคาตัวของ
ผูหญิง ตอกย้ําใหเห็นถึงคานิยมในสมัยกอนที่มองวาผูหญิงเปนทรัพย (กอน
แตงงานเปนสมบัติของพอแม เมื่อแตงงานไปแลวเปนสมบัติของสามี) ดังนั้น
การเรียกสินสอดเปนจํานวนมากๆ จึงเทากับเปนการประกาศใหคนทั่วไป
ไดรับทราบวา ผูหญิงคนนั้นมีคุณคาเพียบพรอมทั้งในเรื่องรูปสมบัติ คุณสมบัติ
หรือมีชาติตระกูลเพียงใด หญิงที่ถูกซื้อดวยสินสอดราคาแพงมากเทาไร สังคม
ก็ยิ่งนิยมยกยองมากเทานั้น ซึ่งคานิยมเรื่องคุณคาของผูหญิงที่ถูกนําไปตีคา
เปรียบเทียบเปนราคาของทรัพยสินเงินทองเชนนี้ยังคงสืบทอดมาจนถึงปจจุบัน
เพียงแตแงมุมของการซื้อขายลูกสาวอาจถูกแทนที่ดวยการอธิบายวาเปนการ
แสดงถึงเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และฐานะของพอแม
อยางไรก็ดีคานิยมในการเรียกสินสอดจํานวนมากนี้ ครั้งหนึ่งเคยถูก
มองวาเปนปญหาและอุปสรรคที่สําคัญยิ่งตอนโยบายการสรางชาติของรัฐ ใน
สมัยที่จอมพลป.พิบูลสงครามเปนนายกรัฐมนตรี เนื่องจากในยุคนั้นรัฐไทยมี
นโยบายสงเสริมใหคนแตงงานและมีลูกมาก ดวยความเชื่อที่วา ประเทศชาติจะ
4 อางใน วรนาฎ ศรีบุญพงศ การหมั้น: วิเคราะหลักษณะพิเศษและผลทางกฎหมาย วิทยานิพนธ
นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร พ.ศ. 2534.
สุไลพร ชลวิไล