Page 58 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 58

สวนที่ 1 เพศภาวะ: สินสอด  41

                               เรื่องปลูกเรือนหอ สวนฝายหญิงก็จะไดรับการปลูกฝงวาเมื่อแตงงานไปแลว
                               ก็ควรจะตองปฏิบัติตนเปนภรรยา เปนผูตามที่ดี เคารพเชื่อฟงสามี รับผิดชอบ
                               ดูแลงานบานไมใหขาดตกบกพรอง ใหสมกับที่สามีตั้งความหวังไวและไดลงทุน

                               ลงแรงไปจัดหาสินสอดมาสูขอ
                                     นอกจากเรื่องราวของ “สินสอด” จะสื่อใหเห็นถึงวิธีคิดในเเรื่องบทบาท

                               เพศภาวะที่แตกตางกันระหวางชายหญิงแลว ยังสะทอนถึงมุมมองเรื่องเพศวิถี
                               ที่เชื่อมโยงกับบทบาททางเพศภาวะดวย เพราะแทจริงแลว “การแตงงาน”
                               ก็คือ การที่สังคมอนุญาตใหชายและหญิงไดรวมประเวณีกันอยางถูกตอง
                               ตามทํานองคลองธรรมตามระเบียบแบบแผนประเพณีวัฒนธรรมและสังคม

                               นั่นเอง ดวยเหตุนี้มูลคาของ “สินสอด” จึงอาจเปรียบไดกับราคาของ “ประเวณี”
                               ที่ผูชายยอมจายเพื่อแลกกับการไดเปนเจาของสิทธิเหนือเนื้อตัวรางกายของ
                               ผูหญิง และหนึ่งในหนาที่สําคัญของการเปนภรรยาที่ดีที่สามีคาดหวังนั้นก็คือ

                               การตอบสนองความตองการทางเพศในเวลาที่สามีตองการ
                                     คานิยมเรื่องเพศที่ถูกปลูกฝงและสงผานกันมาอยางยาวนานนี้ เปนสิ่งที่
                               ไดรับการรับรองโดยการบัญญัติกฎหมายซึ่งปราศจากความเขาใจในเรื่องสิทธิ
                               และความเทาเทียมระหวางเพศ จากขอความในมาตรา 276 ของประมวล

                               กฎหมายอาญา (ซึ่งใชมาตั้งแต พ.ศ. 2499 จนถึงป พ.ศ. 2550) ที่นิยามการ
                                                                                         6
                               ขมขืนกระทําชําเรา โดยไมตระหนักถึงการขมขืนกระทําชําเราในคูสามีภรรยา
                               ทําใหผูหญิงจํานวนมากตองทนทุกขทรมานจากการถูกสามีลวงละเมิดทางเพศ

                               และขมขืนกระทําชําเรา เพราะจําเปนจะตองรักษาสถานภาพความเปน
                               “ภรรยา” ไวดวยหลายเหตุผล ไมวาจะเปนการไมสามารถพึ่งพาตนเองไดในทาง
                               เศรษฐกิจ ไมอยากไดชื่อวาเปนผูที่ครอบครัวลมเหลว ไมอยากตกอยูในสถานะ

                               “แมมาย” เพราะสังคมยังคงมีอคติกับผูหญิงที่เปนมายอยูมาก หรือรูสึกอับอาย




                               6   ปจจุบันพระราชบัญญัติ แกไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา ป พ.ศ. 2550 ไดมีการแกไขขอ
                                 ความในกฎหมายมาตรานี้ จากขอความเดิม “ ผูใดขมขืนกระทําชําเราหญิงซึ่งมิใชภรรยาตน.....”
                                 มาเปน “ผูใดขมขืนผูอื่น” เพื่อคุมครองหญิงที่เปนภรรยาซึ่งอาจถูกสามีบังคับใหมีเพศสัมพันธโดย
                                 ไมเต็มใจดวย ซึ่งการแกไขพระราชบัญญัตินี้สวนหนึ่งเปนผลจากการรณรงค และตอสูเรียกรองของ
                                 กลุมนักเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิของผูหญิงในชวงหลายปที่ผานมา

                                                        สุไลพร ชลวิไล
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63