Page 47 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 47

30   ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ

                                     เปนเรื่องยากที่จะสืบคนวาคําวา “คาสโนวา” คํานี้เขามาปรากฏอยูใน
                               สังคมไทยตั้งแตเมื่อไร แตคาดวาสื่อ และกลุมชนชั้นสูงที่มีการศึกษานาจะมี
                               อิทธิพลมากที่สุดในการทําใหคําๆ นี้เปนที่รูจักกันอยางแพรหลาย โดยผูชายที่ได

                               ฉายาวา “คาสโนวา” จะตองเปนชายหนุมที่มาจากชาติตระกูลดี มีฐานะ และมี
                               ชื่อเสียงในวงสังคม และมีขาวพัวพันกับหญิงสาวสวยไมซ้ําหนา
                                     คําวา “เพลยบอย” และ “คาสโนวา” สะทอนใหเห็นถึงการเปดรับขอมูล
                               ขาวสาร และอิทธิพลของภาษาและวัฒนธรรมตะวันตกของสังคมไทย ซึ่ง

                               เปนผลมาจากการเปลี่ยนแปลงไปสูความเปนทันสมัย และเทคโนโลยีการสื่อสาร
                               ไรพรมแดน โดยภายใตความหมายของ “ผูชายเจาชู” คําแตละคํายังสะทอน
                               ใหเห็นถึงชนชั้นและบริบททางสังคมของผูสื่อสาร และผูรับสารในสังคมไทย
                               ไดเปนอยางดีอีกดวย แมวาในชวงหลังคําอยาง “เพลยบอย” และ “คาสโนวา”
                               จะถูกสื่อนํามาใชจนแทบจะกลายเปนคําที่เขาใจกันดีในภาษาไทยไปแลวก็ตาม

                                     ยังมีศัพทในภาษาไทยอีกหลายคําที่สื่อความถึงความเจาชูของผูมี
                               เพศภาวะชาย ซึ่งในชวงหลังๆ อาจเปนคําที่ไดยินไมบอยนัก อยางเชนคําวา
                               “พระยาเทครัว” และ “เสือผูหญิง”

                                     “พระยาเทครัว” เปนคําเกาอีกคําหนึ่งที่หมายถึง ผูชายเจาชู โดย
                               เจาะจงถึงพฤติกรรมของผูชายเจาชูประเภทที่ไดผูหญิงในครอบครัว หรือเครือ-
                               ญาติเดียวกันมาเปนภรรยาหมด
                                     ขุนวิจิตรมาตรา (สงา กาญจนาคพันธุ) กลาวถึงความหมายของสํานวน
                               “เทครัว” ที่เกี่ยวกับเรื่องเพศไววาหมายถึง ชายเจาของบานที่มีภรรยาแลวก็
                               ยังรวบเอาพี่เมียนองเมียหรือญาติคนใดก็ตามของภรรยามาเปนภรรยา
                               หมดทั้งบาน รวมไปถึงหญิงคนใชในบานทั้งหมดดวย และที่มีคําวา

                               “พระยา” เขามาประกอบดวย ก็นาจะมาจากการที่ขุนนางชั้นพระยาคนใดคน
                               หนึ่งมีพฤติกรรมเชนนี้ หรือไมก็อาจเปนไปไดวา ผูที่เปน “พระยา” โดยทั่วไป
                               มักจะมีพฤติกรรมในทํานองนี้กัน เพราะในบานมีขาทาสบริวารมาก โดยสุดทาย

                               ขุนวิจิตรมาตรากลาวสรุปวา คนที่มีเงิน มีอํานาจก็สามารถเปน “พระยาเทครัว”
                                                                                4
                               ไดเหมือนกันโดยไมจําเปนวาตองเปน “ขุนนาง” หรือเปน “พระยา”

                               4   สรุปจาก ขุนวิจิตรมาตรา (สงา กาญจนาคพันธุ) สํานวนไทย. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงเรียน
                                 ภาษาและวัฒนธรรมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน). 2543. หนา 270.

                                                         สุไลพร ชลวิไล
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52