Page 270 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 270

บทสงทาย  255

                               จํานวนมากก็ยังคงมองวากิจกรรมทางเพศเหลานี้เปนรูปแบบของการมี
                               เพศสัมพันธที่ไมปกติ โดยใหเหตุผลวา “ทวารหนัก” และ “ปาก” ไมไดถูก
                               ออกแบบมาเพื่อการมีเพศสัมพันธตามธรรมชาติ มีแตผูชายที่มีเพศสัมพันธ

                               กับชายซึ่งไมสามารถจะมีเพศสัมพันธแบบสอดใสตามปกติไดเทานั้นที่จําเปน
                               ตองอาศัยชองทางการมีเพศสัมพันธในลักษณะดังกลาว

                                     และในกรณีของ “การชวยตัวเอง” ซึ่งถูกจัดวาเปนเพศสัมพันธในระดับ
                               ต่ํากวาเพศสัมพันธแบบสอดใส ก็มีคําอธิบายที่แตกตางกันออกไประหวาง
                               การชวยตัวเองของผูชายกับการชวยตัวเองของผูหญิง โดยถาเปนผูชายสังคม
                               ยังอธิบายไดวาเปนเรื่องของการปลดปลอยแรงขับทางเพศตามธรรมชาติ

                               (แตถึงอยางไรเพศสัมพันธแบบสอดใสยอมดีกวา) สวนในกรณีของผูหญิง
                               การชวยตัวเองถูกนําไปโยงกับความเปนผูหญิงไมดี เพราะผูหญิงที่ดียอมตอง
                               รูจักควบคุมอารมณทางเพศ ไมแสดงออก หรือเริ่มกอน แตควรตองรอใหผูชาย

                               เปนฝายรุกในเรื่องเพศ
                                     ในขณะที่สังคมพยายามจะบอกอยูตลอดเวลาวา เรื่องเพศเปน
                               “เรื่องสวนตัว” แตรูปแบบการมีความสัมพันธทางเพศที่ดูนาจะเปนสวนตัวอยาง
                               ยิ่ง เชน การมีเพศสัมพันธแบบสลับคู (สวิงกิ้ง) มีเพศสัมพันธเพื่อแลกเปลี่ยน

                               กับเงิน (โสเภณี) หรือมีเพศสัมพันธกับคนหลายคนที่ไมใชคูของตนเอง (กิ๊ก)
                               รวมไปถึงการบริโภค “สื่อโป” กลับถูกมองวาเปนพฤติกรรมที่เปนอันตราย
                               ตอสังคม ทําใหรัฐตองเขามาดําเนินการปราบปรามเพื่อรักษาไวซึ่งระบบ

                               ศีลธรรมอันดีงามใหคงอยูตลอดไป
                                     ไมใชแตบุคคลที่มีอัตลักษณทางเพศภาวะและเพศวิถีนอกกรอบเทานั้น
                               ที่ตองเผชิญกับแรงกดดันอันเนื่องมาจากการบังคับควบคุมเรื่องเพศอยางชัดเจน

                               บุคคลที่มีอัตลักษณทางเพศภาวะและเพศวิถีอยูในกรอบอยางชายและหญิง
                               รักตางเพศตางก็ตกอยูภายใตอํานาจวาทกรรมเรื่องเพศกระแสหลักที่แทรกซึม
                               เขาไปครอบงําระบบวิธีคิด และวิถีปฏิบัติของคนอยางแยบยลดวยเชนกัน

                               โดยเฉพาะอยางยิ่งผูที่แทบจะไรซึ่งตัวตนและสิทธิทางเพศมากที่สุดในระบบ
                               เพศวิถีแบบรักตางเพศซึ่งใหคุณคากับการแตงงานแบบผัวเดียวเมียเดียว และ
                               การมีเพศสัมพันธเพื่อการมีบุตรนี้ ก็คือ “ผูหญิง”




                                                  สุไลพร ชลวิไล, พิมพวัลย บุญมงคล
   265   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275