Page 267 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 267
252 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
การเมืองเรื่องภาษา: อํานาจของภาษาในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม
ทางเพศ
แมวารัฐจะไดพยายามควบคุม กํากับเพศวิถีของคนใหอยูในกรอบ
วาทกรรมเรื่องเพศกระแสหลักอยางเครงครัดมากเพียงใดก็ตาม ในเวลา
เดียวกันบุคคลที่ไมเชื่อในระบบคิดเรื่องเพศภาวะ และเพศวิถีแบบกระแสหลัก
รวมทั้งบุคคลที่มีอัตลักษณทางเพศภาวะ และเพศวิถีนอกกรอบทั้งหลายตางคน
ตางก็แสวงหาพื้นที่ และชองทางในการแสดงออกซึ่งความปรารถนาทางเพศ
รวมทั้งแสดงความเปนตัวตนทาทาย ตอตาน และตอรองอํานาจของรัฐอยู
ตลอดเวลาในสังคมเล็กๆ ของตน หรือกระทั่งรวมตัวกันเคลื่อนไหวเพื่อรณรงค
เรียกรองตอรัฐในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิทางเพศตางๆ โดยมีวัตถุประสงค
เพื่อใหสังคมไดเรียนรูแงมุมใหมๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศภาวะ เพศวิถีในอันจะนําไปสู
การยอมรับ และลดอคติทางเพศที่มีตอพวกเขา ตัวอยางเชน การบัญญัติศัพทใหม
อยางคําวา “หญิงรักหญิง” “ชายรักชาย” หรือ “พนักงานบริการ” ขึ้นมา
เพื่อที่จะรื้อสรางความหมายของคําศัพทแบบเดิม (อยางเชนคําวา “เลสเบี้ยน”)
หรือ “ชายรักรวมเพศ” หรือ “โสเภณี” ที่แฝงอคติตอบุคคลซึ่งมีอัตลักษณทางเพศ
นอกกรอบเรื่องเพศกระแสหลัก หรือการวิเคราะหคําวาหี ทั้งในความหมายและ
การใชคํานี้ในบริบทตางๆ ชี้ใหเห็นถึงการใชอํานาจและการกดทับทางเพศที่
แฝงเรนในคําเรียกอวัยวะเพศหญิง แตการใชคําอื่นๆ เชน ตรงนั้น ของสงวน
ที่ลับ ชี้ใหเห็นถึงการไมสมยอม และขัดขืน กับการกดทับความเปนผูหญิง
ผานการยัดเยียดความหมายของอวัยวะเพศผานภาษาที่เรียกอวัยวะเพศหญิง
ระบบ 2 เพศภาวะ 1 เพศวิถี: อํานาจ และผลกระทบตอสิทธิ
และสุขภาวะทางเพศ
ในขณะที่สังคมพยายามทําให “เรื่องเพศ” เปนเรื่องตองหาม ดวยการ
จํากัดพื้นที่ใหเรื่องเพศอยูแตในอาณาบริเวณเรื่องสวนตัว แตในทางปฏิบัติ
ยิ่งสังคมหาม หรือยิ่งปกปดมากเทาไร ยิ่งกลับทําใหคน “พูด” “เสพ” และ
“ปฏิสัมพันธ” กับเรื่องเพศมากขึ้นเทานั้น
สุไลพร ชลวิไล, พิมพวัลย บุญมงคล