Page 263 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 263
248 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
ทางเพศตอบุคคลเพศตรงขาม หรือเพศวิถีระหวางชายหญิงโดยมีเปาหมาย
เพื่อการสืบพันธุ ซึ่งในระบบเพศวิถีนี้จะใหคุณคากับเพศสัมพันธแบบสอดใส
(หรือการสอดใสอวัยวะเพศชายเขาไปในชองคลอดของผูหญิง) วาเปนรูปแบบ
เพศสัมพันธเพียงรูปแบบเดียวที่เปนปกติ และธรรมชาติ เพศวิถีแบบอื่นๆ
นอกเหนือไปจากนี้ ถือเปนเพศวิถีนอกกรอบ หรือไมปกติ เชน การมีความ
ปรารถนาทางเพศตอเพศเดียวกัน หรือมีเพศสัมพันธกับคนเพศเดียวกัน การมี
เพศสัมพันธทางทวารหนัก หรือการใชปาก (ทั้งระหวางคนเพศเดียวกัน และ
ระหวางคนตางเพศ) การสําเร็จความใครดวยตัวเอง ลวนแตถูกมองวาเปน
เพศวิถีที่ไมเปนไปตามรูปแบบปกติทั้งสิ้น
2. การใหคุณคากับความเปนชาย เหนือกวาความเปนหญิง
ในระบบ 2 เพศสรีระ 2 เพศภาวะ และ 1 เพศวิถีนี้ สังคมยังมีความ
คาดหวังตอผูชาย และผูหญิงตางกัน และมีกระบวนการหลอหลอมบทบาททาง
สังคมระหวางชายกับหญิงที่แตกตางกันอีกดวย โดยผูชายถูกคาดหวังใหเปน
ผูนําในทุกเรื่องรวมทั้งในเรื่องเพศ ขณะที่ผูหญิงมีหนาที่เปนผูตามในทุกเรื่อง
นอกจากนี้สังคมยังเชื่อวา ผูชายมีแรงขับทางเพศตามธรรมชาติมากกวา
ผูหญิง ผูชายจึงจําเปนจะตองปลดปลอยแรงขับทางเพศออกมา ระบบความคิด
ความเชื่อเชนนี้เทากับเปนการเปดโอกาสใหผูชายมีอิสระในการเรียนรู และ
เขาถึงเรื่องเพศ หรือแมแตมีเพศสัมพันธหลากหลายรูปแบบ และกับหลากหลาย
คนไดโดยไมถูกประณามเทากับผูหญิง สวนผูหญิงก็ยังคงตอง “รักนวลสงวนตัว”
อยูตอไป และตองคอยปฏิบัติตนเปนผูหญิงที่ดีตามคานิยมของสังคม เชน ตอง
ไมแตงตัวโป หรือเปดเผยเนื้อตัวรางกายมากเกินไปในที่สาธารณะ (เพราะการ
แตงตัวโปของผูหญิง เทากับเปนการแสดงเจตนาเชิญชวนใหผูชายเขามา
ลวนลามหรือลวงละเมิดทางเพศ) นอกจากนั้นผูหญิงก็จะตองไมมีเพศสัมพันธ
กอนแตงงาน ไมกระตือรือรน อยากรูอยากเห็น หรืออยากลองในเรื่องเพศ อีกทั้ง
ยังไมควรทําตัวเจาชู อยางที่สังคมยกยองผูชายเจาชูวาเปน “ขุนแผน” เพราะ
สังคมมองวาผูหญิงที่เจาชู คือผูหญิงที่ไมดี ดังจะเห็นไดจากการที่สังคมมีคํา
ตําหนิติเตียนหรือประณามผูหญิงที่ประพฤติไมดีเกี่ยวกับเรื่องเพศมากมาย เชน
คําวา แรด ราน กากี วันทอง เปนตน
สุไลพร ชลวิไล, พิมพวัลย บุญมงคล