Page 261 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 261

246  ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ

                               ผูหญิงหลายคน หรือชอบมีเพศสัมพันธกับผูหญิงหลายคนในเวลาเดียวกัน
                               หรือ ผูชายที่มีเพศสัมพันธกับผูหญิงไปเรื่อยๆ ไมจริงจังกับใคร หรือผูชายที่มี

                               ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ พฤติกรรมตรงขามกับผูชายที่รักเดียวใจเดียว ซื่อสัตย
                               ไมนอกใจ ฯลฯ)
                                     หรือคําวา กะเทย อาจหมายถึง บุคคลที่มีอวัยวะเพศสองแบบอยูใน

                               รางกาย หรือบุคคลที่มีอวัยวะเพศและมีสรีระเปนเพศหนึ่ง แตตองการจะมี
                               อวัยวะเพศอีกแบบหนึ่ง หรือมีสรีระเปนอีกเพศหนึ่งหรือบุคคลที่ไมปรากฏ
                               อวัยวะเพศชัดเจนวาเปนแบบใดแน หรืออาจหมายถึงผลไมที่เมล็ดลีบก็ได

                               นอกจากนี้ในสมัยกอนคําวากะเทยยังใชกับทั้งผูชายที่แสดงกิริยาอาการ
                               ตรงขามกับความเปนชาย และผูหญิงที่แสดงกิริยาอาการตรงขามกับความ
                               เปนหญิง แตในปจจุบันคําวากะเทยกลายเปนคําศัพทเฉพาะที่ใชเรียกผูชายที่

                               แสดงกิริยาอาการตรงขามกับความเปนชาย เปนตน
                                     อยางไรก็ดีนอกจากภาษาจะทําหนาที่กําหนดนิยามความหมายแลว
                               ภาษายังเปนสื่อกลางในการผลิตซ้ําความหมาย ไปพรอมๆ กับถายทอดคานิยม
                               ในเรื่องเพศจากคนรุนหนึ่งไปสูคนอีกรุนหนึ่งในวัฒนธรรมของผูที่ใชภาษา

                               เดียวกันดวย ภาษาที่วาดวยเรื่องเพศจึงมีอิทธิพลตอทั้งการกําหนดมุมมอง
                               ความเชื่อ รวมไปถึงความรู ความเขาใจของคนเกี่ยวกับเรื่องเพศเปนอยางมาก
                                     จากการวิเคราะหคําศัพทเกี่ยวกับเรื่องเพศทั้ง 21 คํา พบวามีประเด็น

                               หลักๆ ที่สําคัญที่สะทอนระบบความคิดความเชื่อของสังคมไทยเกี่ยวกับ
                               เรื่องเพศดังนี้


                                     1. ระบบ 2 เพศ (สรีระ) 2 เพศภาวะ และ 1 เพศวิถี
                                     สังคมไทยมีความเชื่อเชนเดียวกับสังคมอื่นๆ วามนุษยตามธรรมชาติมี

                               แค 2 เพศ คือ เพศชาย และหญิง โดยดูจากสรีระรางกายที่มีอวัยวะเพศแบงเปน
                               สองแบบ คือ อวัยวะเพศชาย และอวัยวะเพศหญิง อวัยวะเพศทั้ง 2 แบบนี้ มีชื่อ
                               เรียกตางๆ กันไป เชน หี (จิ๋ม, หอย ฯลฯ) หํา (เจี้ยว, ควย ฯลฯ) บุคคลที่มีอวัยวะ

                               เพศแตกตางไปจากนี้ เชน ผูที่มี 2 อวัยวะเพศในรางกายเดียวกัน หรือผูที่มี
                               อวัยวะเพศที่ไมแสดงออกอยางชัดเจนจะถูกมองวาผิดปกติ และไมมีคําเรียก
                               สําหรับอวัยวะเพศของพวกเขา หรือลักษณะที่แตกตางไปจากอวัยวะเพศชาย


                                                   สุไลพร ชลวิไล, พิมพวัลย บุญมงคล
   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266