Page 25 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 25
8 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
ดอกทอง น. หญิงใจงายในทางประเวณี (เปนคําดา).
สําหรับคําวาดอกทองนี้มีผูอธิบายถึงที่มาของคําไวหลายกระแส บางก็วา
เปนคําที่เพี้ยนมาจากคําดาในภาษาจีนแตจิ๋ววา “หลกทง” หมายถึง แดงเหมือน
เหล็กเผาไฟ มักใชคํานี้กับผูหญิงที่มักมากในกามารมณ บางก็วา “ดอกทอง”
มาจากดอกของตนทองกวาวซึ่งมีสีแดง ซึ่งภาษาชาวบานเรียกวาตนดอกทอง
ในสมัยโบราณในยานสําเพ็งซึ่งมีสํานักนางโลมหลายแหงมีตนทองกวาวขึ้นอยู
หนุมๆ ในสมัยโบราณจึงเรียกวาไปบานดอกทองกัน คําวาดอกทองก็เลยถูกนํา
มาโยงกับหญิงบริการ (ซึ่งเปนสัญลักษณของผูหญิงประพฤติไมดีทางเพศ)
ไป นอกจากนี้ก็ยังมีคนอธิบายวา “ดอกทอง” มาจากชื่อของวานชนิดหนึ่งซึ่งมี
กลิ่นฉุนแรง ใครไดสูดดมเขาไปก็จะเกิดราคะ และอีกคําอธิบายหนึ่งก็วา
“ดอกทอง” มาจากคําผวน “ดอง-ถอก” ซึ่งถูกเทียบเคียงกับอวัยวะเพศผูชาย
หรือ “ซึ่งเกี่ยว (ดอง) กับอวัยะเพศชายที่ถูกถอก” บางก็วาคําๆ นี้มาจากลาย
ตามตัวของตัวเงินตัวทองสัตวที่คนไทยรังเกียจ จึงถูกนํามาเปนคําดาผูหญิงที่
ทําตัวไมดีนั่นเอง และคําอธิบายถึงที่มาของคําวา “ดอกทอง” แหลงสุดทาย
ก็คือ ดอกทองหมายถึงดอกไมที่มีสีแดง (อยางดอกทองกวาว) ซึ่งเปนสีของ
เจาแมกาลี (สีของเลือด) เทพสตรีในภาคดุรายตามความเชื่อของฮินดู ซึ่งพิธี
การบูชาเจาแมกาลีพิธีหนึ่งที่เชื่อกันวาเจาแมโปรดปรานมากคือ พิธีตันตระ หรือ
14
พิธีเสพสังวาสหมู เจาแมกาลีจึงถือเปนสัญลักษณอยางหนึ่งของความสําสอน
และอาจเปนไปไดวาคําวา กาลี นั้นตอมาถูกใชเพื่อบริภาษผูหญิงที่ประพฤติตน
15
สําสอนวา กาลี/กระหรี่
14 พิธีตันตระปฏิบัติโดยใหหมูชายหญิงผูศรัทธาประสาทะ เขาโบสถหรือที่อันรโหฐานแลวปดไฟใหมืดมิด
จากนั้นใหทั้งฝายชายและฝายหญิงคอยๆ เอื้อมมือคลําไขวควาหากัน หากคลําไดถูกคูนั้นก็จะตอง
เสพสังวาสกันโดยมิเลือกวาจะเปนญาติสนิทมิตรสหายหรือแมแตพอแมพี่นองกันก็ตองกระทําการ
สมสูกัน ในคัมภีรโบราณเลาวายิ่งถาเปนแมเปนลูก เปนพอเปนลูก หรือเปนพี่นองกันหากได
เสพสังวาสกันในพิธีตันตระนี้ก็จะทําใหไดบุญมาก เพราะพระแมกาลีจะโปรดปรานมากเปนพิเศษ
และจะใหพรผูบูชา
15 ดูเพิ่มเรื่องที่มาตางๆ ของความหมายของคําวาดอกทองไดที่ กวิน. ดอกทอง, โพสตเมื่อ 29 ก.พ.
2551 เว็บไซต <http://gotoknow.org/blog/kelvin/168214?class=yuimenuitemlabel>
มลฤดี ลาพิมล