Page 175 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 175
158 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
ของเพลงเปนการลอเลียนกะเทยชื่อเดียวกับเพลงใหคนทั่วไปหัวเราะดวยความ
ขบขัน และเปนที่มาของการเกิดคําศัพทคําใหมอีกคําที่คนภายนอกนํามาใช
เรียกแทน “กะเทย” แตเปนคําที่จัดอยูในกลุมคําเรียกที่กะเทยไมชอบ นั่นคือคําวา
“ประเทือง”
สวนคําในกลุมซึ่งฟงดูไมไดมีนัยเชิงลบนักสําหรับกะเทย ไดแกคําวา
“นองเตย” ซึ่งในแวดวงกะเทยเอง หมายถึง คํานามที่ใชเรียกกะเทยในความ
10
หมายที่แฝงความนาเอ็นดู หรือเปนสรรพนามที่ใชเรียกกะเทยแบบนารักๆ
คําๆ นี้ไมปรากฏที่มาชัดเจน แตสันนิษฐานวานาจะเปนอีกคําที่แผลงมาจากคําวา
กะเทย (เชนเดียวกันคําวา กระเทียม) เนื่องจากคนไทยสวนใหญมักนิยมพลิก
แพลงสรางคําศัพทใหมๆ ขึ้นมาใชแทนคําศัพทที่มีความหมายในเชิงไมดี หรือ
เปนคําหยาบคาย เพื่อทําใหคําๆ นั้นฟงดูสุภาพขึ้น เหมือนเชนในกรณีนี้คือ จาก
คําวา “กะเทย” ที่มีนัยเชิงลบ ก็แผลงมาเปนคําที่มีเสียงคลายๆ กันวา “เตย”
สวนการนําเอาคําวา “นอง” มาประกอบ ก็เพื่อแสดงใหเห็นวากําลังพูดถึงผูที่อยู
ในวัยเด็ก
สําหรับคําซึ่งกะเทยสวนใหญชอบใหคนอื่นนิยามตนเองคือคําวา
“สาวประเภทสอง” ซึ่งไมปรากฏที่มาชัดเจนวาใชครั้งแรกตั้งแตเมื่อไร หรือใคร
เปนผูใช หากมีการใชคําที่ใกลเคียงกับคําๆ นี้ในหนาหนังสือพิมพไทยในป พ.ศ.
2515 ในขาวประกวดกะเทย พรอมกับการประกวดนางสาวสยามในงานแสดง
สินคานานาชาติที่สวนลุมพินี โดยมีการใชคําวาการแขงขันชิงตําแหนง
11
“นางสาวสยามประเภทสอง” เหตุผลที่กะเทยหรือสาวประเภทสองสวนใหญ
ชอบใหใชคําๆ นี้ ก็เพราะเปนคําที่ฟงดูสุภาพ ไมแสดงถึงการเยาะเยยถากถาง
หรือรังเกียจเดียดฉันท และเปนคําที่ฟงดูใหความรูสึกเปนผูหญิง สอดคลองกับ
ความเปนผูหญิง และความปรารถนาอยากเปนผูหญิงของพวกเธอ
10 ดูเพิ่มใน <http://www.suphawut.com/gvb/gayly/thai_gay_cultures_gay_vocabs2.htm >
11 ในที่สุดงานจัดประกวด “กะเทยสยาม” นี้ ตองถูกยกเลิกไป เมื่อเจาหนาที่ตํารวจไดเขามาแทรกแซง
ใหระงับการประกวด และการเดินแฟชั่นของกะเทยดวย โดยอางวาเปนการขัดตอศีลธรรม ขอมูล
จาก เทอดศักดิ์ รมจําปา. “วาทกรรมเกี่ยวกับ “เกย” ในสังคมไทย พ.ศ.2508-2542” วิทยานิพนธ
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 2545.
สุไลพร ชลวิไล