Page 172 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 172
บทที่ 4 เพศวิถี: กะเทย 155
บอกเลาเรื่องราวของตนเองในสังคมมากขึ้น ทําใหคําวา “กะเทย” จากเดิมที่ถูก
ใชในหลายความหมาย กลายมาเปนคําที่คนสวนใหญใชเรียกเฉพาะผูชายที่มี
จิตใจ การแสดงออก และมีความปรารถนาที่อยากจะเปนผูหญิงเทานั้น
อยางไรก็ตามไมวาคําวา “กะเทย” คํานี้จะถูกนํามาใชเรียกบุคคลที่มี
ตัวตนทางเพศ มีอวัยวะเพศ หรือมีพฤติกรรมทางเพศแบบใดก็ตาม หากสําหรับ
บุคคลที่ถูกเรียกวา “กะเทย” แลว คําๆ นี้เปนคําที่มีนัยในเชิงดูถูกเหยียดยาม
หรือเปนคําลอเลียน ทําใหผูถูกเรียกไดรับความอับอาย หรือกลายเปนตัวตลก
ในสายตาของบุคคลที่พบเห็น ซึ่งทั้งหมดนี้เปนผลมาจากอิทธิพลขององคความรู
ทางดานการแพทย จิตวิทยา สื่อมวลชน กฎหมาย รวมไปถึงความคิดความเชื่อ
ทางวัฒนธรรมประเพณี และศาสนาที่มองเห็น และยอมรับเรื่องเพศอยูแต
เฉพาะในกรอบความสัมพันธระหวางชายกับหญิง ภายใตอุดมการณความรัก
ความสัมพันธแบบผัวเดียวเมียเดียว
ทุกวันนี้การที่สังคมมองเห็นแตภาพลักษณของกะเทย หรือสาวประเภทสอง
ในมิติของความเปนผูหญิงที่สวยกวา หรือมีจริตกริยาเปนผูหญิงมากกวาผูที่มี
เพศสภาพเปนผูหญิง จนมองไมเห็นวาภายในกลุมกะเทยเองก็มีกะเทยที่มีตัวตน
ทางเพศ และมีบุคลิกภาพที่หลากหลาย ไมตางจากผูชายผูหญิง หรือการที่
สื่อมวลชนสายบันเทิง หยิบเอาความเปนกะเทยมาเปนจุดขายดวยการขยายภาพ
กะเทยในมุมของการมีจริตจะกาน วี๊ดวายกระตูวู ปากจัด เปดเผยในเรื่องเพศ
พรอมจะไลจับผูชายอยูตลอดเวลา รวมถึงการใหนักแสดงชายมาแตงตัว หรือ
แสดงทาทางเปนกะเทย หรือเปนผูหญิง ทั้งหมดนี้ทําใหภาพของบุคคลที่มีตัวตน
ทางเพศภาวะ หรือมีวิถีทางเพศที่แตกตางออกไปยิ่งถูกตอกย้ําอยูในกรอบของ
ความเปนคนวิปริตผิดเพศ หรือเปนความแปลกประหลาดพิสดารที่ดูนาทึ่ง หรือ
ดูนาขัน และในเวลาเดียวกันก็นํามาซึ่งการกีดกัน และเลือกปฏิบัติกับบุคคล
กลุมนี้อยูอยางซ้ําแลวซ้ําเลา
สุไลพร ชลวิไล