Page 180 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 180
บทที่ 4 เพศวิถี: กะเทย 163
ในอนาคตยังอาจมีการคิดคําใหมๆ เพื่อนํามาใชสื่อถึงตัวตนทางเพศ
แบบกะเทยอีกมากมาย เพราะจากตัวอยางที่เห็นแมแตคําวา “กะเทย” ที่เปนที่
รูจักและใชกันมาอยางยาวนาน ก็ยังเปลี่ยนแปลงความหมายไปตามกาลเวลา
และบริบทที่เกี่ยวของ ตัวอยางจากการศึกษาที่มาของคําวากะเทย และคําที่
เกี่ยวของอื่นๆ นี้ไมเพียงสะทอนใหเห็นถึงเบื้องหลังระบบความคิดความเชื่อใน
เรื่องตัวตนทางเพศในสังคมไทยที่รับรูในความมีอยูของบุคคลที่มีอัตลักษณหรือ
ตัวตนทางเพศที่แตกตางไปจากชาย และหญิงมาชานานแลวเทานั้น แตยังชี้ให
เห็นถึงการตอสูชวงชิงอํานาจในการนิยามตัวตนทางเพศผานทางคําเรียกที่คน
แตละกลุมใชอีกดวย
ปรากฏการณที่เกิดขึ้นสะทอนใหเห็นวาคนทั่วไปยังคงมองเห็นกะเทย
อยางผิวเผิน แคเพียงบุคลิกภาพภายนอก และความปรารถนาที่จะแสดงตัวตน
ตรงขามกับเพศของตนเองเทานั้น หากไมไดมองลึกลงไปถึงความหลากหลาย
ในวิถีชีวิตทางเพศ และตัวตนความเปนกะเทยในดานอื่นๆ ดวย ทําใหคน
สวนใหญไมสามารถจะแยกแยะความแตกตางระหวางกะเทยกับเกยสาวที่มี
ลักษณะกระตุงกระติ้งออกจากกันได ขณะที่กะเทยซึ่งไมเขาขายความเปน
กะเทยแบบที่สังคมรูจัก (หรืออยากรูจัก) เปนตนวา กะเทยที่รูปรางหนาตา หรือ
ผิวพรรณไมดี กะเทยที่ไมมีความเปนผูหญิงมากๆ หรือกะเทยที่มีวิถีปฏิบัติทาง
เพศเปนฝายรุกผูชาย ก็จะไมไดรับการยอมรับทั้งจากสังคมกะเทยดวยกัน และ
จากสังคมภายนอก ซึ่งบางครั้งก็สงผลใหคนรักเพศเดียวกันกลุมตางๆ อยางเกย
และกะเทย เกิดอาการเขมนกันเองได เพราะตางฝายตางก็ไมอยากถูกมอง
อยางเหมารวมอยางเขาใจผิดๆ วาตนเองมีพฤติกรรมการแสดงออก หรือมีวิถี
ทางเพศเปนแบบอีกฝายหนึ่ง สิ่งที่สําคัญที่สุดนอกเหนือไปกวาเรื่องของการ
ทําความเขาใจความหมายและที่มาของคําก็คือ การทําความเขาใจกับสังคม
(รวมทั้งกลุมของกะเทยหรือสาวประเภทสองเอง) ใหยอมรับและเคารพในตัวตน
ทางเพศวิถีที่หลากหลาย และแปรเปลี่ยนไปมาไมหยุดนิ่งผานการใชคําเหลานี้ดวย
เนื่องจากความไมเขาใจ และอคติที่มีตอบุคคลซึ่งมีอัตลักษณทางเพศภาวะ
และเพศวิถีที่แตกตางนั้น สงผลอยางมากตอการจัดระบบบริการสุขภาพใหกับ
บุคคลกลุมนี้ การที่พวกเธอบางคนตองการปรับเปลี่ยนรางกายในทุกสวน ทําให
ตองพึ่งพายา ฮอรโมน หรือเทคโนโลยีทางการแพทยมากกวาคนอีกหลายกลุม
สุไลพร ชลวิไล