Page 170 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 170
บทที่ 4 เพศวิถี: กะเทย 153
นั่นเปนเพื่อนเกลอกัน เปนลูกของลุง ทีแรกเราก็ไมรูวาเขา
เปนอยางนั้น แตสมัยกอนอายุ 14-15 อยูบานนอก เลนน้ํานี่
แกผาหมด ก็เห็นกัน ทุกวันนี้เขาเสียไปแลว”
แมคาเรขายผัก อายุ 67 ป
ชาวธนบุรี ไมไดสมรส ไมไดเรียนหนังสือ
ปจจุบัน ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ป พ.ศ. 2542 ยังคงระบุ
ถึงความหมายของคําวา “กะเทย” วาหมายถึง “คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชาย
และหญิง” อยู และในขณะเดียวกันก็ยังมีความหมายถึง “คนที่มีจิตใจและ
กิริยาอาการตรงขามกับเพศของตน” และ “ผลไมที่มีเมล็ดลีบ” ดวย ซึ่ง
5
โดยทั่วไปแลวเมื่อพูดถึงกะเทยคนสวนใหญมักนึกถึงแตกะเทยในความหมายที่สอง
มากกวาในความหมายแรก คือ “ผูที่เกิดมามีสรีระเปนชาย แตแสดงรูปลักษณ
อากัปกิริยา และตัวตนทางเพศตรงกันขามกับเพศของตนเอง”
กอนหนาที่กะเทยจะถูกรับรูในความหมายอยางที่ใชกันอยูในปจจุบันนี้
(หรือกอนหนาที่สังคมไทยจะรูจักคําวา “เกย” หรือ “ทอม”) ยอนกลับไปเมื่อราว
40-50 ปกอน คําวากะเทยเปนคําเพียงคําเดียวที่ใชในความหมายที่ครอบคลุม
ทั้งบุคคลที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง หรือ บุคคลที่มีอวัยวะเพศไม
ชัดเจน (Hermaphrodite), บุคคลที่มีอวัยวะเพศเปนอยางหนึ่งแตมี
พฤติกรรมการแสดงออกตรงขามกับเพศของตนเอง (Transgender),
บุคคลที่มีรสนิยมชอบแตงกายดวยเสื้อผาของเพศตรงขาม (Transvestite
หรือ Crossdresser) และบุคคลที่ไมไดแสดงออกเปนเพศตรงขามแตมี
รสนิยมรักใครในเพศเดียวกัน (Homosexual) ดวยเหตุนี้จึงไมใชเรื่องแปลก
ที่บอยครั้ง หลายคนจะสับสน และแยกแยะความเปน “เกย” กับความเปน
“กะเทย” ไมออก เพราะในมุมมองและระบบวิธีคิดเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี
แบบไทยแตเดิมมา มีเพียงคําวา “กะเทย” เพียงคําเดียวเทานั้นที่ถูกนํามาใชใน
การอธิบายตัวตนทางเพศของคน ไมวาจะเปนตัวตนทางเพศภาวะ (การแสดง
5 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 . กรุงเทพฯ: นานมีบุคสพับลิเคชั่นส.
2546. หนา 93.
สุไลพร ชลวิไล