Page 92 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 92
34 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
กระท าใด ๆ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติทางตรงนั้นเป็นการกระท าที่ถูกก ากับด้วยสติอันน ามาซึ่งการปฏิบัติต่อผู้อื่น
45
ในลักษณะที่ให้ความโปรดปรานน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับบุคลอื่น ๆ ในสถานการณ์เดียวกัน
การห้ามเลือกปฏิบัติโดยตรงมีส่วนสัมพันธ์กับการส่งเสริมหลักความเท่าเทียมกันเชิงรูปแบบ
(Formal Equality) โดยการห้ามการปฏิบัติอันเป็นที่พึงพอใจน้อยกว่า (Less Favorable Treatment) หรือ
การปฏิบัติในทางท าให้เสียหาย (Detrimental Treatment) แก่บุคคลโดยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติต่าง ๆ การ
เลือกปฏิบัติโดยตรงนั้นเป็นการพิจารณาถึงการปฏิบัติที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลในสภาวะหรือเงื่อนไขที่
เหมือนกัน ซึ่งมักพบในกรณีของการไม่ให้สิทธิบางประการกับบุคคลบางคนหรือบางกลุ่มด้วยเหตุที่บุคคลนั้นจัด
อยู่ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ เช่น การตรากฎหมายจ ากัดสิทธิบุคคลบางกลุ่มด้วยเหตุแห่ง
การเลือกปฏิบัติ การกระท าของภาคเอกชน เช่น นายจ้าง ในการปฏิบัติต่อลูกจ้างแตกต่างกันด้วยเหตุแห่งการ
เลือกปฏิบัติ รวมทั้งการกระท าของภาคเอกชนที่ปฏิเสธการให้บริการหรือจ าหน่ายสินค้ากับบุคคลบางกลุ่มด้วย
เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ การเลือกปฏิบัติโดยตรงนี้จะเห็นได้จากการปฏิบัติที่มีวัตถุประสงค์เห็นได้ว่าเป็นการ
เลือกปฏิบัติอันสะท้อนจากลักษณะหรือรูปแบบของการปฏิบัติที่มีความแตกต่างกันระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้อง
เช่น กฎหมายที่ให้สิทธิกับเพศหนึ่งโดยกีดกันอีกเพศหนึ่ง จะเห็นได้ว่ากฎหมายนี้มีวัตถุประสงค์ที่เห็นได้ชัดว่า
46
เป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ
2. กระบวนทัศน์การเลือกปฏิบัติทางอ้อม (Indirect Discrimination) เกิดขึ้นจากผลกระทบของ
คุณสมบัติบางประการ รวมถึงเงื่อนไขหรือข้อปฏิบัติบางประการที่น ามาบังคับใช้โดยผู้ว่าจ้างงานหรือผู้บริหาร
และมีเป้าหมายบังคับใช้กับทุก ๆ คน ในองค์กร แต่น ามาซึ่งผลลัพธ์ที่ไม่เป็นธรรมกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรืออาจ
กล่าวได้ว่า การเลือกปฏิบัติทางอ้อมเกิดจากการออกกฎเกณฑ์หรือนโยบายใด ๆ ที่ตั้งใจจะบังคับใช้ต่อทุกคน
ในองค์กรอย่างเท่าเทียม แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลับท าให้บุคคลบางกลุ่มเสียประโยชน์หรือเสียเปรียบ และความ
ได้เปรียบและเสียเปรียบนั้นสัมพันธ์กับเงื่อนไขพื้นฐานที่มีร่วมกันของกลุ่มนั้น ๆ เช่น กลุ่มเชื้อชาติเดียวกัน
(Racial Group) ยิ่งไปกว่านั้น กระบวนทัศน์การเลือกปฏิบัติทางอ้อมยังถูกน าไปเชื่อมโยงกับ กระบวนทัศน์
“ความเท่าเทียมบางส่วน” (Substantive Equality) และการเลือกปฏิบัติเชิงบวก (Positive Discrimination)
47
หรือมักจะเรียกว่า “การปฏิบัติเชิงบวก” (Positive Actions) กล่าวคือ กฎเกณฑ์หรือนโยบายนั้น ๆ หาก
พิจารณาโดยผิวเผินอาจดูเหมือนว่าสมเหตุสมผล และมีความยุติธรรมส าหรับทุกคน และหากพิจารณาในเชิงลึก
แล้วพบว่ามีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมอันเกิดจากกฎเกณฑ์หรือนโยบายนั้น ๆ เป็น
เพราะพวกเขาไม่สามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือนโยบายนั้น ๆ ได้อันเนื่องมาจากข้อจ ากัดและเงื่อนไขบาง
45 From “Definitions of Key Notions: Direct and Indirect Discrimination, Harassment,” by Declan
O’Dempsey, 2006, Academic of European Law, p. 4, ใน การเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ เด็ก ผู้หญิง และผู้สูงอายุ. หน้า
เดิม.
46 จาก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ. เล่มเดิม. (น. 191).
47 แหล่งเดิม.