Page 95 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 95
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 37
2.1.4 ตราสารด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
องค์การสหประชาชาติเป็นต้นก าเนิดส าคัญในการก าหนดมาตรฐานสากลระหว่างประเทศหลาย
รูปแบบ ซึ่งมีผลผูกพันต่อประเทศสมาชิก รวมทั้งประเทศไทย ได้มีการร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
และตราสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ของสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์ส าคัญเพื่อก าหนดมาตรฐานสากล
ตลอดจนการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนที่ก าหนดไว้ ซึ่งแต่ละกลไกต่างมีจุด
แข็งและจุดอ่อนที่แตกต่างกันไป
สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนมีลักษณะเป็นสนธิสัญญาพหุภาคี กล่าวคือ เป็นสนธิสัญญาที่มีรัฐ
มากกว่าสองรัฐขึ้นไปเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งกระบวนการในการท าสนธิสัญญามีหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การ
เจรจา การให้ความยินยอมของรัฐเพื่อผูกพันตามสนธิสัญญาโดยการลงนาม การให้สัตยาบัน การภาคยานุวัติ
และบางรัฐอาจตั้งข้อสงวน หรือตีความสนธิสัญญา และเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนในการท าสัญญาครบถ้วนแล้ว
ภาคีก็มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่อไป การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาก่อให้เกิดพันธกรณีที่ต้อง
ปฏิบัติให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา มิฉะนั้นอาจต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศ ดังในกรณีของประเทศไทย
เมื่อเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าว
2.1.4.1 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights)
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights – UDHR)
51
เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งได้รับการรับรอง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
2491 (ค.ศ. 1948) จากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนฉบับนี้ถือเป็น
เอกสารทางประวัติศาสตร์ในการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรกของโลก กฎหมาย
ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทุกฉบับในปัจจุบันล้วนมีพื้นฐาน และได้รับการพัฒนาและมาจากปฏิญญา
สากลฉบับนี้ทั้งสิ้น และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นพื้นฐานส าหรับการ
พัฒนากฎหมายภายในประเทศของประเทศต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนใน
ประเทศของตน
2.1.4.2 มาตรการสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้สหประชาชาติ
52
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี มีทั้งสิ้น 7 ฉบับ จาก 9 ฉบับ ดังนี้
1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant
on Civil and Political Rights - ICCPR) ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม
51 โปรดดู คู่มือหลักสิทธิมนุษยชนสากลในกระบวนการยุติธรรมที่พนักงานสอบสวนควรรู้, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
มนุษยชน หน้า 1-63 http://www.chonburi.police.go.th/images/file_main/2557_12_007/2557_12_007_001.pdf
52 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (อ้างอิงจากเว็บไซต์ของกลุ่มงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมกิจการผู้สูงอายุ)ฉบับ
ภาษาไทย http://www.dop.go.th/th/laws/1/31/779 ฉบับภาษาอังกฤษhttp://www.dop.go.th/th/laws/1/31/780