Page 91 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 91
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 33
แห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน” ถูกยุบมาเป็นวรรคสองของมาตรา 4 และปรับถ้อยค าให้กระชับขึ้นเหลือเพียง
“ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน”
ส่วนในมาตรา 27 ก็คงมีหลักการเช่นเดียวกับ มาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญฉบับปี พุทธศักราช
2550 แต่มีการปรับเพิ่มถ้อยค า ได้แก่ ในวรรคสาม มีการเพิ่มค าว่า “หรือเหตุอื่นใด” เพื่อให้ขยายขอบเขตการ
คุ้มครองการห้ามเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะมีการอ้างเหตุใด ๆ ก็ตามนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ส่วนวรรค
สี่ของมาตรา 30 ก็ได้เพิ่มข้อความ “หรือเพื่อคุ้มครองหรืออ านวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คน
พิการ หรือผู้ด้อยโอกาส” จึงเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี พุทธศักราช 2560 มีเจตนารมณ์รับรองมาตรการ
คุ้มครองสิทธิในเชิงบวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือผู้ด้อยโอกาสโดยบัญญัติไว้อย่างชัดเจนยิ่งกว่า
รัฐธรรมนูญฉบับก่อน
2.1.3.4 การเลือกปฏิบัติโดยตรงและการเลือกปฏิบัติโดยอ้อม
Marzia Barbera นักวิชาการด้านกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ปรึกษาในประเด็นเรื่อง
ความเท่าเทียมในระดับชาติ (National Equality Advisor) ได้ให้ค านิยามกระบวนทัศน์ “การเลือกปฏิบัติ”
โดยจ าแนกออกเป็นสองแบบอย่างชัดเจนโดยประมวลเนื้อหามาจากกฎหมายที่บังคับใช้ของสหภาพยุโรป
(The EC Anti-Discrimination Directives 2000/43 and 2000/78) ดังนี้
1. กระบวนทัศน์การเลือกปฏิบัติทางตรง (Direct discrimination) เกิดขึ้นเมื่อปัจเจกชนได้รับ
การปฏิบัติในลักษณะที่โปรดปรานน้อยกว่า (Less favorably) เมื่อเทียบกับสถานการณ์เดียวกันหรือใกล้เคียง
กัน ทั้งนี้ Marzia ระบุว่ากระบวนทัศน์การเลือกปฏิบัติทางตรงมีพัฒนาการมาจากรูปแบบการเลือกปฏิบัติที่
เกิดขึ้น เนื่องจาก อคติทางเชื้อชาติและอายุ ซึ่งท าให้ปัจเจกชนได้รับการปฏิบัติโดยมาตรฐานที่แตกต่างกัน
รวมถึงรูปแบบ “การกระท าเชิงบวก” ที่ปรากฏในรูปแบบของการรับและคัดเลือกบุคคลเข้าท างานโดยระบุ
คุณสมบัติเฉพาะหรือข้อห้ามส าหรับคนบางกลุ่มในการสมัคร โดยอ้างเหตุผลเรื่องอายุและเงื่อนไขอื่น ๆ ส่วน
กระบวนทัศน์ “การเลือกปฏิบัติทางอ้อม” (Indirect discrimination) เกิดขึ้นเมื่อมีการก าหนดบทบัญญัติ
เกณฑ์หรือการปฏิบัติ (provision, criterion, practice) ที่เป็นกลางอย่างชัดเจน โดยจัดให้บุคคลเข้าไปอยู่ใน
44
สังกัดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะซึ่งท าให้บุคคลผู้นั้นเสียเปรียบเมื่อเปรียบเทียบกับอีกกลุ่มหนึ่ง
Declan O’Dempsey อธิบายเพิ่มเติมถึงสาเหตุการเลือกปฏิบัติที่ระบุถึงวลีส าคัญที่ระบุไว้ใน
“ค าสั่ง” (Directive) ตามกฎหมายคือวลีที่ว่า “บนพื้นฐานของ” (On the Grounds of) อันหมายถึงเงื่อนไข
พื้นฐานบางประการที่เป็นสาเหตุของการเลือกปฏิบัติทางตรง กล่าวคือแรงจูงใจที่ท าให้บุคคลตัดสินใจกระท า
การเลือกปฏิบัติต่อผู้อื่น นั่นคือการที่พวกเขา (ผู้กระท าการเลือกปฏิบัติ) ต้องการปกป้องเงื่อนไขพื้นฐานบาง
ประการของตนหรือการยกเอาเงื่อนไขพื้นฐานของตนอยู่เหนือเงื่อนไขพื้นฐานของผู้อื่น อาจกล่าวได้ว่าการ
44 From “Definitions of Key Concepts: Direct Discrimination Indirect Discrimination Harassment,” by
Marzia Barbera, 2000, The EC Anti-Discrimination Directives 2000/43 & 2000/78 in Practice, ใน การเลือกปฏิบัติ
ต่อคนพิการ เด็ก ผู้หญิง และผู้สูงอายุ. เล่มเดิม. (น. 21).