Page 89 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 89
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 31
หากพิจารณาจากตัวบทและล าดับการวางหลักของรัฐธรรมนูญจะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญมุ่งเน้น
หลักความเสมอภาค (Equality) เป็นส าคัญ ซึ่งสะท้อนจากหลักของมาตรา 30 วรรคแรก ส าหรับการเลือก
ปฏิบัตินั้นจัดเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักความเสมอภาค อย่างไรก็ตาม ตัวบทก็มิได้ระบุความหมายของการเลือกปฏิบัติ
ไว้ รวมทั้งมิได้เริ่มต้นจากการวางหลักห้าม “การเลือกปฏิบัติ” แต่เริ่มวางหลักเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติจากการ
ก าหนดห้าม “การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” โดยอธิบายว่า การกระท าอย่างไรจึงเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็น
ธรรมอันเป็นสิ่งต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ และต่อมาในวรรคท้ายจึงเป็นการอธิบายขยายความเพิ่มเติมว่า
มาตรการของรัฐที่เข้าเงื่อนไขบางประการจะไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ดังนั้นมาตรการยืนยัน
สิทธิเชิงบวก (Affirmative Action) เช่นการก าหนดให้สิทธิพิเศษบางประการแก่บุคคลกลุ่มเสี่ยงต่อเหตุแห่ง
การเลือกปฏิบัติ เช่น การให้โควตาการศึกษาส าหรับชนกลุ่มน้อย ดังนี้ไม่ถือเป็น “การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็น
ธรรม” เพราะเป็นมาตรการที่ส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาค เนื่องจากให้โอกาสแก่บุคคลกลุ่มเปราะบางที่มัก
เสียเปรียบให้มีโอกาสเท่าเทียมกันบุคคลกลุ่มอื่นๆในสังคม
โดยนัยนี้ การเลือกปฏิบัติจึงเป็นหลักที่มีความสัมพันธ์กับหลักความเท่าเทียมกัน กล่าวคือ การ
กระท านั้นหากเข้าองค์ประกอบตามวรรคสามก็จะเป็นการ “เลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” อันขัดต่อหลักความ
เท่าเทียมกัน แต่หากการกระท านั้นเข้าองค์ประกอบตามวรรคท้ายก็จะถูกยกเว้นไม่ถือเป็น “การเลือกปฏิบัติ
โดยไม่เป็นธรรม” ซึ่งการกระท าลักษณะนี้อาจอธิบายว่าเป็น “การเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรม” เพื่อเป็นการ
จ าแนกการปฏิบัติที่ไม่ขัดต่อหลักความเสมอภาคและการปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักความเสมอภาค แม้ว่า
รัฐธรรมนูญจะมิได้เรียกว่า “การเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรม” ก็ตาม อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตกว่ารัฐธรรมนูญมิได้
ก าหนดนิยามความหมายของ “การเลือกปฏิบัติ” (Discrimination) ไว้
ต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติรับรองหลักการเกี่ยวกับ
ความเท่าเทียมกัน และการห้ามเลือกปฏิบัติดังนี้
มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่าก านิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ใน ความคุ้มครองแห่ง
รัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นก าเนิด เชื้อชาติ
ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม
ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญ
จะกระท ามิได้
มาตรการที่รัฐก าหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและ เสรีภาพได้
เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม