Page 96 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 96
38 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
53
2539 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 ประกอบด้วยวรรคอารัมภบท และบทบัญญัติ
53 ข้อ
2) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
Covenant on Economic, Social and Cultural Rights - ICESCR) ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการ
54
ภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2542 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ประกอบด้วย
วรรคอารัมภบท และบทบัญญัติ 31 ข้อ
3) อนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination
of All Forms of Discrimination Against Women หรือ CEDAW) ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการ
55
ภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2528 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2528 วัตถุประสงค์
หลักของอนุสัญญาฉบับนี้ คือ การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ รวมทั้งการประกันว่าสตรีและบุรุษมี
สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติและดูแลจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน
ทั้งนี้อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อสตรี ได้ถึงผู้สูงอายุเกี่ยวกับการ
ขจัดการเลือกปฏิบัติในผู้หญิงในสิทธิที่จะได้รับการประกันสังคม
4) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child หรือ CRC) ประเทศ
ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 และมีผลใช้บังคับกับไทย เมื่อวันที่ 26
56
เมษายน 2535 ประกอบด้วยบทบัญญัติ 54 ข้อ ได้แก่ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของเด็กโดยตรง ซึ่งเน้นหลัก
พื้นฐาน 4 ประการ และแนวทางในการตีความอนุสัญญาทั้งฉบับ
5) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the
Elimination of All Forms of Racial Discrimination หรือ CERD) ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการ
57
ภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546
ประกอบด้วยวรรคอารัมภบท และบทบัญญัติ 25 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน
53 ประเทศไทยมีค าแถลงตีความใน 2 ประเด็นคือ (1) การใช้สิทธิการก าหนดเจตจ านงตนเอง ซึ่งไทยมิให้ตีความว่า
อนุญาตหรือสนับสนุนการกระท าใด ๆ ที่จะเป็นการแบ่งแยกดินแดน และ (2) เรื่องการห้ามโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสงคราม นั้น
ไทยถือว่าไม่รวมถึงสงครามเพื่อป้องกันตนเอง ในกรณีที่ไทยจ าเป็นต้องประชาสัมพันธ์และชักชวนให้ประชาชนรักชาติในกรณีที่
ต้องท าสงครามเพื่อป้องกันการ รุกรานจากประเทศอื่น.
54 ประเทศไทยมีค าแถลงตีความในการใช้สิทธิการก าหนดเจตจ านงตนเอง ซึ่งไทยมิให้ตีความว่า อนุญาตหรือสนับสนุน
การกระท าใด ๆ ที่จะเป็นการแบ่งแยกดินแดน (ตามความหมายใน Vienna Declaration and Programme of Action).
55 ประเทศไทยมีค าแถลงตีความว่า ข้อบทในอนุสัญญา CEDAW ต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญไทย และประเทศไทยมี
ข้อสงวนในข้อ 29 เกี่ยวกับการเสนอเรื่องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณา ในกรณีการพิพาทระหว่างรัฐภาคี.
56 โดยประเทศไทยมีข้อสงวนในข้อ 22 เรื่องสถานะของเด็กผู้ลี้ภัย.
57 โดยประเทศไทยมีค าแถลงตีความทั่วไปว่า รัฐบาลไทยจะไม่ตีความหรือใช้บทบัญญัติใด ๆ ที่ปรากฏในอนุสัญญาเป็น
พันธกรณีเกินกว่ารัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในของไทยได้บัญญัติไว้ และประเทศไทยมีข้อสงวนต่อข้อ 4 โดยตีความว่าข้อ
บทดังกล่าวที่ให้รัฐภาคีด าเนินมาตรการเชิงบวกในการขจัดการกระตุ้นหรือการเลือกปฏิบัติตามที่ระบุในข้อ 4 (ก) (ข) (ค) ก็
ต่อเมื่อพิจารณาเห็นว่ามีความจ าเป็นที่จะต้องออกเป็นกฎหมายเท่านั้น และข้อ 22 ว่าด้วยกรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคี
โดยไม่สามารถเจรจาตกลงด้วยวิธีการ อื่นใด และรัฐคู่กรณีเสนอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณา.