Page 97 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 97

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                     กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 39

                        6) อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระท าอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่

               ย่ ายีศักดิ์ศรี (Convention Against Torture and other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or
               Punishment หรือ CAT) ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 และมีผลใช้
                                              58
               บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550  ในเนื้อหาของอนุสัญญาฉบับนี้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการระงับ
               และยับยั้งการทรมาน โดยในเนื้อหาของอนุสัญญาดังกล่าวได้ก าหนดความหมายของ การทรมาน ว่าหมายถึง
               การกระท าใดก็ตามโดยเจตนาที่ท าให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางกายภาพ

               หรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ด้วยความมุ่งประสงค์ เพื่อให้ข้อสนเทศหรือค าสารภาพจากบุคคลนั้นหรือ
               บุคคลที่สาม การลงโทษบุคคลนั้นส าหรับการกระท าซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามกระท า หรือถูกสงสัยว่าได้
               กระท า รวมทั้งการบังคับขู่เข็ญ โดยมุ่งเน้นไปที่การกระท าหรือโดยความยินยอมของเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลอื่น

               ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในต าแหน่งทางการ
                         7) อนุสัญ ญ าว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with
               Disabilities หรือ CRPD) ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 และ
               มีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551 อนุสัญญาฉบับนี้เน้นไปที่การขจัดอุปสรรคจากภายนอก
               ซึ่งเป็นสาเหตุส าคัญของความยากล าบากในการด าเนินชีวิตของผู้พิการ ตลอดจนการแก้ไขความเสียเปรียบทาง

               สังคมของคนพิการ ซึ่งก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ และขัดขวางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็น
               อย่างยิ่ง
                         ทั้งนี้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ได้ระบุถึง “ผู้สูงอายุ” ที่ต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติและ

               ค านึงถึงความเท่าเทียมกันไว้ในข้อที่ 25 (b) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ และข้อ 28 (2) (b) เป็นเรื่องเกี่ยวกับ
               มาตรฐานความเป็นอยู่ที่เพียงพอและการประกันสังคม และการระบุถึงอายุที่เหมาะสมในการเข้าถึงความ
               ยุติธรรมในข้อ 13 และมาตรการในการป้องกันการถูกแสวงหาประโยชน์ การใช้ความรุนแรงและการล่วงละเมิด
               ในข้อ 16
                         8) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ

               (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance หรือ
               CED) ประเทศไทยลงนามแล้ว เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2555 และอยู่ระหว่างการด าเนินการเพื่อให้สัตยาบันเข้า
               เป็นภาคี




                    58 ประเทศไทยมีค าแถลงตีความ ข้อ 1 เรื่องค านิยามของค าว่า "การทรมาน" ข้อ 4 เรื่องการก าหนดให้การทรมานทั้ง
               ปวงเป็นความผิดที่ลงโทษได้ตามกฎหมายอาญา และข้อ 5 เรื่องให้รัฐภาคีด าเนินมาตรการต่าง ๆ ที่อาจจ าเป็นเพื่อให้ตนมีเขต
               อ านาจเหนือความผิดที่อ้างถึงตามข้อที่ 4 ขออนุสัญญา โดยทั้งสามข้อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยที่ใช้บังคับ
               อยู่ใน ปัจจุบัน และประเทศไทยมีข้อสงวน ข้อที่ 30 วรรคหนึ่ง โดยประเทศไทยไม่รับผูกพันตามข้อบทดังกล่าว (ซึ่งระบุให้น า
               ข้อพิพาทเกี่ยวกับการตีความหรือการน าอนุสัญญาฯ ไปใช้ ขึ้นสู่การวินิจฉัยชี้ขาดของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้หาก
               คู่พิพาทฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งร้องขอ) ซึ่งการจัดท าข้อสงวนในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ยอมรับอ านาจของศาล ยุติธรรมระหว่าง
               ประเทศเป็นการล่วงหน้า เว้นเสียแต่ว่าจะพิจารณาเห็นสมควรเป็นกรณี ๆ ไป.
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102