Page 90 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 90

32 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

                       จากหลักการข้างต้น จะเห็นได้ว่า แนวคิดการเลือกปฏิบัติยังคงบัญญัติอยู่ในมาตรา 30 โดยน า
             แนวคิดความเสมอภาคระหว่างเพศ แนวคิดการเลือกปฏิบัติมาจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พุทธศักราช  2540 แต่มี
                                                     43
             การเพิ่มเติมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติใหม่เช่น ความพิการ
                       นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับปี พุทธศักราช 2540 พบว่า การวาง
             หลักเกี่ยวกับความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญฉบับ
             ปี พุทธศักราช 2540 กล่าวคือ ก าหนดความเท่าเทียมกันไว้เป็นหลัก โดยก าหนดการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
             ไว้ว่าเป็นสิ่งซึ่งขัดต่อหลักความเท่าเทียมกันดังกล่าว และก าหนดยกเว้นการกระท าบางอย่างซึ่งมีลักษณะของ

             มาตรการที่ปฏิบัติแตกต่างกันต่อบุคคล แต่เป็นไปเพื่อส่งเสริมให้บรรลุวัตถุประสงค์ความเท่าเทียมกันว่าไม่เป็น
             การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม โดยนัยดังกล่าวสะท้อนถึงแนวคิดการจ าแนกความแตกต่างของ “การปฏิบัติที่
             แตกต่างกันต่อบุคคล” (Differential treatment) ออกเป็น “การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” และ “การ
             กระท าที่ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ” ซึ่งอาจเรียกโดยพิจารณาความหมายตรงข้ามกันกับการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็น

             ธรรมว่า “การเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรม” แม้ว่าค านี้จะไม่มีก าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญก็ตาม
                       ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก็ยังคงบัญญัติรับรองหลักความเสมอ
             ภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติ ดังนี้
                       มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความ

             คุ้มครอง ปวงชนชาวไทยย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญเสมอกัน
                       มาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตาม
             กฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
                       การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นก าเนิด เชื้อชาติ

             ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
             ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
             หรือเหตุอื่นใด จะกระท ามิได้
                       มาตรการที่รัฐก าหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพได้

             เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองหรืออ านวยความสะดวกให้แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือ
             ผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
                       จากหลักการที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พุทธศักราช 2560 จะเห็นได้ว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะ
             ส าคัญกับรัฐธรรมนูญฉบับปี พุทธศักราช 2550 กล่าวคือ มีการบัญญัติรับรองหลักความเสมอภาคไว้ในมาตรา

             4 หมวดทั่วไป แต่มีการรวมบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 เดิม เข้าไว้เป็นมาตรา 4 เพียงมาตราเดียว โดย
             มาตรา 5 เดิมซึ่งบัญญัติว่า “ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่าก านิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ใน ความคุ้มครอง





                  43 จาก เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (น. 23), โดย คณะกรรมการวิสามัญบันทึก
             เจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม สภาร่างรัฐธรรมนูญ, 2551, ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง
             กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ. เล่มเดิม. (น. 222).
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95