Page 80 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 80
22 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ส าหรับความหมายของการเลือกปฏิบัติในกรอบของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
มีดังเช่น
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on
Civil and Political Rights หรือ ICCPR) วางหลักเกี่ยวกับความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติไว้ในข้อ
26 อันมีหลักส าคัญว่า
“บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันตาม
กฎหมาย โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ในกรณีนี้ กฎหมายจะต้องห้ามการเลือกปฏิบัติใด ๆ และต้อง
ประกันการคุ้มครองบุคคลทุกคนอย่างเสมอภาคและเป็นผลจริงจังจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลใด เช่น
เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม
ทรัพย์สิน ก าเนิด หรือสถานะอื่น ๆ ”
ความเห็นทั่วไปของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights
28
Committee, General Comment 1 8 , Non-Discrimination) ได้มีการอธิบายการเลือกปฏิบัติไว้ว่า
การเลือกปฏิบัติตามมาตรา 26 ของ ICCPR ดังกล่าวนั้นหมายถึง
“การเลือกปฏิบัติที่ใช้ใน ICCPR นั้นควรเข้าใจว่ามีนัยถึงความแตกต่างใด ๆ การกีดกัน การจ ากัด
หรือ การปฏิบัติเป็นพิเศษ ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง ชาติ
หรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน สถานะอื่นใด และมีวัตถุประสงค์หรือผลกระทบ (Purpose or Effect) ในเชิง
อุปสรรคหรือเป็นการลดทอนการใช้สิทธิและเสรีภาพทั้งหลายของบุคคลนั้นบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน”
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the
Elimination of All Forms of Racial Discrimination หรือ CERD) วางหลักเกี่ยวกับความเสมอภาคและ
การห้ามเลือกปฏิบัติไว้ใน ข้อ 1 ดังนี้
“ในอนุสัญญานี้ค าว่า “การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ” จะหมายถึง การจ าแนก การกีดกัน การ
จ ากัด หรือการเลือก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสายหรือชาติก าเนิดหรือเผ่าพันธ์ุก าเนิด ซึ่งมี
เจตนาหรือมีผลให้เกิดการระงับหรือกีดกั้น การเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลในด้าน
การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และในด้านอื่น ๆ ของการด ารงชีวิตในสังคม รวมทั้งการระงับหรือกีดกั้น
การใช้สิทธิเหล่านั้นอย่างเสมอภาคของบุคคล”
29
นอกจากนี้ ข้อแนะน าทั่วไป (CERD General Recommendation 14) ได้อธิบายความหมาย
ของการเลือกปฏิบัติตามอนุสัญญา CERD ดังนี้
“การปฏิบัติที่แตกต่างกัน (Differentiation of Treatment ) จะไม่ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ
(Discrimination) หากพิจารณาเกณฑ์ส าหรับการปฏิบัติที่แตกต่างกันนั้นเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์และ
จุดมุ่งหมายของสนธิสัญญาแล้วมีความชอบธรรมหรือตกอยู่ในขอบเขตมาตรา 1 ย่อหน้า 4 ของสนธิสัญญานี้
28 From General Comment 18, Non-discrimination by Human Rights Committee, (Thirty-seventh
session, 1989), in รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ. เล่มเดิม. (น. 3).
29 CERD General Recommendation 14 (Art. 2, para. 1: Definition of discrimination), in รายงานวิจัยฉบับ
สมบูรณ์เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ. หน้าเดิม.