Page 75 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 75
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 17
รัฐด าเนินการแก้ไขเยียวยาในกรณีที่มีการแทรกแซงหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพดังกล่าวได้ หรืออาจเรียกร้องให้รัฐ
ละเว้นการกระท าที่เป็นการแทรกแซงหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพดังกล่าว เช่น เสรีภาพในการถือศาสนา เสรีภาพ
ในเคหะสถาน เสรีภาพในการสื่อสาร สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
เสรีภาพในทางวิชาการ เสรีภาพในการเดินทางและเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ สิทธิในครอบครัว เกียรติยศ
ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว สิทธิในทรัพย์สินของบุคคล เสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบ
อาชีพและการแข่งขันโดยเสรีภาพอย่างเป็นธรรม
(1.2) status positivus หรือ positive right หมายถึง กลุ่มของสิทธิที่การใช้สิทธิและเสรีภาพ
ของปัจเจกบุคคลมิอาจจะบรรลุความมุ่งหมายได้หากปราศจากการเข้ามาด าเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งจากฝ่าย
รัฐ โดยมีลักษณะเป็น “สิทธิเรียกร้อง” ให้รัฐกระท าการ เช่น สิทธิในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สิทธิในการ
ได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐอย่างเสมอภาค สิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมจากรัฐ
ของเด็กและเยาวชน สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐของผู้สูงอายุ สิทธิได้รับสิ่งอ านวยความสะดวกอัน
เป็นสาธารณะและความช่วยเหลือจากรัฐของผู้พิการ สิทธิที่จะใช้สิทธิทางศาล สิทธิได้รับหลักประกันความ
ปลอดภัย สวัสดิภาพและหลักประกันในการด ารงชีพของคนท างาน
(1.3) status activus หรือ active right หมายถึง กลุ่มของสิทธิที่ปัจเจกบุคคลใช้สิทธิของตนใน
การเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างเจตจ านงทางการเมือง หรือเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรของรัฐ โดยหลักแล้ว
สิทธิประเภทนี้มักจะเป็น “สิทธิพลเมือง” เช่น สิทธิของผู้เลือกตั้ง สิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้ง สิทธิในการ
สมัครเข้ารับราชการ สิทธิในการจัดตั้งพรรคการเมือง สิทธิของประชาชนในการเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนบุคคล
ออกจากต าแหน่ง สิทธิในการต่อต้านการกระท าใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งอ านาจในการปกครองประเทศโดยไม่
เป็นไปตามวิถีทางที่รัฐธรรมนูญก าหนดไว้โดยสันติวิธี รวมทั้งสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมือง ดังนั้น
สิทธิประเภทนี้จึงมักจ ากัดเฉพาะพลเมืองของชาติเท่านั้น
การแบ่งประเภทสิทธิเสรีภาพโดยอาศัยลักษณะของการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนกับ
หน้าที่ของรัฐเป็นข้อพิจารณานี้ท าให้เข้าใจพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพแต่ละประเภทว่ามีจุดมุ่งหมายอย่างไร
และการที่ท าให้บรรลุความมุ่งหมายของสิทธิและเสรีภาพแต่ละประเภทนั้น รัฐจะต้องด าเนินการอย่างไร
20
(2) การแบ่งโดยพิจารณาจากผู้ทรงสิทธิ
การแยกสิทธิและเสรีภาพประเภทนี้พิจารณาจากผู้ซึ่งได้รับสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญหรือ
บุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครอง ซึ่งอาจแบ่งแยกได้ 2 ประเภท ได้แก่
(2.1) สิทธิมนุษยชน (Human rights) หมายถึง สิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งให้ความคุ้มครองแก่ทุก ๆ
คนโดยมิได้แบ่งแยกว่าบุคคลนั้นเป็นคนชาติใด หากบุคคลนั้นเข้ามาอยู่ในเขตอ านาจรัฐที่ใช้รัฐธรรมนูญของ
ประเทศนั้น บุคคลนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ๆ ด้วย เป็นคุณลักษณะประจ าตัวของ
มนุษย์ทุกคน เป็นสิทธิและเสรีภาพตามธรรมชาติที่เป็นของมนุษย์ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์และติดตัวมนุษย์
ทุกคนมาแต่ก าเนิด เป็นสิทธิและเสรีภาพที่มีมาก่อนที่จะมีรัฐเกิดขึ้น ได้แก่
20 เล่มเดิม.