Page 79 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 79

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                     กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 21

                         2. การแข่งขันเชิงสังคม (Social Competition) ถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการความภาคภูมิใจ

               (Self-Esteem) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการบรรลุถึงสถานะทางสังคมในเชิงบวกส าหรับบุคคลในกลุ่ม
               (The In-group) เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลนอกกลุ่ม (The Out-Group)
                         3. การเลือกปฏิบัติด้วยความยินยอม (Consensual Discrimination) ถูกขับเคลื่อนโดยความ
               ต้องการความชัดเจน สะท้อนถึงความมั่นคง ความชอบธรรมของการจัดล าดับชั้นในกลุ่ม เช่น การปฏิบัติเป็น
               พิเศษต่อสมาชิกในกลุ่มที่มีสถานะสูงกว่าสมาชิกอื่น

                         อนึ่ง การเลือกปฏิบัติมิได้เกิดขึ้นเฉพาะกรณีผู้ถูกเลือกปฏิบัติได้รับความเสียหายหรือเป็นฝ่าย
               ไม่ได้รับผลประโยชน์เท่านั้น ในทางวิชาการ การเลือกปฏิบัติยังคงเกิดขึ้นแม้ว่าบุคคลผู้ถูกเลือกปฏิบัติได้รับ
               ผลประโยชน์ก็ตาม มีนักวิชาการเสนอให้พิจารณาในเชิงเปรียบเทียบ โดยเน้นลักษณะของการปฏิบัติที่

               เสียเปรียบ (disadvantage) กล่าวคือ บุคคลไม่จ าต้องได้รับผลเสียหรือผลร้าย (harm) โดยแท้จริง จึงจะถือว่า
               ถูกเลือกปฏิบัติ เช่น หากบุคคลตัดสินใจที่จะบริจาคเพื่อช่วยเด็กก าพร้า แต่ตัดสินใจบริจาคให้เด็กผิวสีน้อยกว่า
               บนพื้นฐานความคิดการแบ่งแยกสีผิว ดังนี้ ก็ถือว่าเกิดการเลือกปฏิบัติขึ้นแล้ว แม้ว่าเด็กผิวสีนั้นจะได้รับเงิน
                        25
               บริจาคก็ตาม
                         Neil Thompson ได้อธิบายว่า กระบวนทัศน์การเลือกปฏิบัติยังมีความเกี่ยวพันกับกระบวนทัศน์

               “อ านาจ” (Power) กล่าวคือ ในกระบวนการเลือกปฏิบัติกลุ่มที่มีอ านาจอันแข็งแกร่งสามารถที่จะกระท าการ
               “เลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบ” (Systematical Discrimination) ต่อกลุ่มที่มีอ านาจน้อยกว่า โดยอ านาจ
               ดังกล่าว ก่อตัวขึ้นมาเพราะ “สภาวะแวดล้อมของปัจเจกบุคคล” หรือ “บุคลิกลักษณะ” (Characteristics)

               แบบแผนทางวัฒนธรรม (Cultural norms) หรือ “ต าแหน่งเชิงโครงสร้าง” (Structural positions) ปัจจัย
               เหล่านี้สร้างแบบแผน (Patterns) ของการเลือกปฏิบัติที่แฝง (Ingrained) ฝังอยู่ใน “ข้อปฏิบัติทางสังคม”
               (Social Practice) เช่น การมีอคติทางเชื้อชาติ (Racism) อคติทางเพศ (Sexism) และอคติทางอายุ (Ageism)
               และอื่น ๆ ดังนั้น กระบวนทัศน์การเลือกปฏิบัติจึงนับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ทางการเมืองและ
                        26
               ทางจิตวิทยา
                         ในแง่ความหมายทั่วไปทางกฎหมาย Black’s Law Dictionary ได้ให้ความหมายของการเลือก
               ปฏิบัติไว้ว่า “การปฏิบัติใด ๆ ต่อบุคคลหรือกลุ่มคนโดยไม่เท่าเทียมกันและไร้เหตุผล หรือการปฏิบัติที่ไม่เป็น
               ธรรมหรือปฏิเสธที่จะปฏิบัติเนื่องจากเชื้อชาติ อายุ สัญชาติ หรือศาสนา หรือการปฏิบัติที่แตกต่างเนื่องจาก

                                                         27
               ความชอบหรือไม่ชอบที่ปราศจากเหตุผลที่สามารถรับฟังได้”


                    25 “From “Private Discrimination: A Prioritarian, Desert-Accommodating Account,” by Kasper Lippert-
               Rasmussen, 2006, San Diego Law Review, 43, p. 817-856, in รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความ
               เสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ. หน้าเดิม.
                    26 From Anti-Discriminatory Practice, by Neil Thompson, 2006, NY: Palgrave Macmillan site in การเลือก
               ปฏิบัติต่อคนพิการ เด็ก ผู้หญิง และผู้สูงอายุ. เล่มเดิม. (น. 13).
                    27 From Black’s law Dictionary (p. 420), by Henry Campbell Back, 1979, Boston: West Publishing, in
               รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ. เล่มเดิม. (น. 3).
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84