Page 76 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 76

18 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

                          - สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล เช่น สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพในเคหสถาน
             เสรีภาพในการเดินทางและเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร
             ถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย สิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว เป็นต้น

                          - เสรีภาพในทางความคิดและการแสดงความคิดเห็น เช่น เสรีภาพในการถือศาสนา นิกาย
             ของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และเสรีภาพในการปฏิบัติตามมาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตาม
             ความเชื่อถือของตน เสรีภาพในการศึกษาอบรม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์
             การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ฯลฯ

                       (2.2) สิทธิพลเมือง (Citizens rights) หมายถึง สิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งให้ความคุ้มครองเฉพาะ
             บุคคลที่เป็นพลเมืองของรัฐเท่านั้น สิทธิและเสรีภาพในอันที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างเจตนารมณ์
             ของรัฐหรืออีกนัยหนึ่งบรรดาสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองต่าง ๆ เป็นสิทธิของพลเมืองจะมีได้ก็เฉพาะแต่
             ภายหลังเวลาที่สังคมการเมืองที่เรียกว่า “รัฐ” อุบัติขึ้นแล้วเท่านั้น เช่น เสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งเป็น

             พรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อด าเนินกิจการในทางการเมืองให้เป็นไป
             ตามเจตนารมณ์นั้น ตามวิถีทางของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
             สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น
             สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและ

             ปราศจากอาวุธ สิทธิในการสมัครเข้ารับราชการ เป็นต้น

                    2.1.2 ลักษณะส าคัญของสิทธิมนุษยชน


                    ลักษณะส าคัญของหลักสิทธิมนุษยชน คือการตรวจสอบได้และใช้หลักนิติธรรม (Accountability and
                            21
             The Rule of Law)  หมายถึง รัฐและองค์กรที่มีหน้าที่ในการก่อให้เกิดสิทธิมนุษยชนต้องมีหน้าที่ตอบค าถาม
             ให้ได้ว่า สิทธิมนุษยชนได้รับการปฏิบัติให้เกิดผลจริง สิทธิใดยังไม่ได้มีการด าเนินการให้เป็นไปตามหลักสากล
             ต้องอธิบายต่อสังคมให้ได้ว่า จะมีขั้นตอนด าเนินการต่อไปอย่างไร รัฐต้องมีมาตรการปกครองประเทศโดยใช้

             หลักนิติธรรม หรือปกครองโดยอาศัยกฎหมายอย่างเที่ยงธรรม ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย
             มีกระบวนการไม่ซับซ้อนและเป็นไปตามหลักกฎหมายมีความเท่าเทียมกันเมื่ออยู่ต่อหน้ากฎหมายโดยไม่มีผู้ใด
             อยู่เหนือกฎหมายได้ โดยสิทธิมนุษยชนที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  มีลักษณะเฉพาะ
                                                                              22
             ดังต่อไปนี้










                  21 จาก สิทธิมนุษยชนในหลายมิติ เอกสารการอบรมหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 4 ส านักงานศาลรัฐธรรมนูญ,
             โดย พีระศักดิ์ พอจิต, 2559, กรุงเทพฯ. ม.ป.พ.
                  22 จาก สารานุกรมไทยส าหรับเยาวชนฯ สิทธิมนุษยชน: ลักษณะเฉพาะของสิทธิมนุษยชน, 2561, สืบค้นจาก
             http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=32&chap=4&page=chap4.htm
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81