Page 78 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 78
20 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
สิ่งที่มีสาระส าคัญเหมือนกัน อะไรเป็นสิ่งที่มีสาระส าคัญแตกต่างกัน ในเรื่องนี้จะต้องอาศัยการพิจารณาเป็น
เรื่อง ๆ ไปและจะต้องมีเหตุผลอันสมควรรับฟังได้ เช่น การเปรียบเทียบในลักษณะของอาชีพระหว่างต ารวจกับ
ครู โดยลักษณะอาชีพของทั้งสองอาชีพนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ต ารวจมีหน้าที่จับผู้ร้าย ดังนั้นการ
ให้สิทธิแก่ต ารวจในการมีอาวุธและพกพาอาวุธจึงไม่เป็นการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกันระหว่างอาชีพต ารวจกับ
ครู เพราะสาระส าคัญของอาชีพทั้งสองต่อการมีอาวุธปืนนั้นมีความแตกต่างกัน การเปรียบเทียบเพื่อน าไปสู่ข้อ
สรุปว่ามีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ จึงจ าเป็นต้องเปรียบเทียบก่อนว่าทั้งสองสิ่งนั้นมีสาระส าคัญ
23
เหมือนหรือต่างกันหรือไม่อย่างไร
ส่วนการเลือกปฏิบัตินั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นค าที่ตรงกันข้ามกับความเสมอภาค กล่าวอย่างสั้นที่สุด
การเลือกปฏิบัติก็คือการปฏิบัติโดยไม่เสมอภาคนั่นเอง ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในบทที่ 1 ว่า “การเลือกปฏิบัติ”
(Discrimination) หมายถึง การกระท าที่ท าให้เกิดความแตกต่างอย่างไร้ความยุติธรรมของปัจเจกชนหรือกลุ่ม
ชน รวมถึงพฤติกรรมที่มีอคติ (Prejudicial Behavior) ที่ต่อต้านผลประโยชน์ของ (กลุ่ม) คนที่ไร้ซึ่งอ านาจ
ภายใต้โครงสร้างทางสังคมนั้น ๆ อาทิ กลุ่มผู้หญิง กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการและรวมถึงกลุ่ม
ผู้ใช้แรงงาน (Working Class) โดยทั่วไปในสังคม ในส่วนนี้จะได้อธิบายขยายความถึงกระบวนทัศน์ว่าด้วยการ
เลือกปฏิบัติโดย แบ่งการน าเสนอออกเป็น 4 หัวข้อ ได้แก่ 2.1.3.1 ความหมายและที่มาของความเสมอภาค
และการไม่เลือกปฏิบัติ 2.1.3.2 เหตุของการเลือกปฏิบัติ (ground of discrimination) และมิติของการเลือก
ปฏิบัติ (area of discrimination) 2.1.3.3 ความแตกต่างระหว่างการปฏิบัติที่แตกต่าง การเลือกปฏิบัติ
การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและมาตรการยืนยันสิทธิเชิงบวก 2.1.3.4 การเลือกปฏิบัติโดยตรงและการเลือกปฏิบัติ
โดยอ้อม
2.1.3.1 ความหมายและที่มาของความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
การเลือกปฏิบัติมีความหมายหลายนัย ขึ้นอยู่กับบริบทและมุมมองในการพิจารณา หากกล่าว
24
ในทางสังคมวิทยา นักวิชาการ เช่น Rubin และ Hew stone ได้จ าแนกประเภทของการเลือกปฏิบัติ
บนพื้นฐานของทฤษฎีความขัดแย้งเชิงความเป็นจริง (Realistic-Conflit Theory) และทฤษฎีตัวตนทางสังคม
(Social-identity Theory) ดังนี้
1. การแข่งขันในเชิงรูปธรรม (Realistic Competition) ถูกขับเคลื่อนโดยผลประโยชน์ส่วน
บุคคล ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการได้ทรัพยากรเชิงวัตถุต่าง ๆ เช่น อาหาร สินค้า เขตแดน เพื่อบุคคลในกลุ่ม
(The In-group) ดังนั้น การเลือกปฏิบัติเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลอันเป็นสมาชิกในกลุ่มและตัวบุคคล
นั้นเองเพื่อให้ได้มาหรือเข้าถึงซึ่งทรัพยากรดังกล่าว
23 จาก สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เล่ม 7 หลักพื้นฐานสิทธิเสรีภาพและหลัก
ความเสมอภาคและหน้าที่ของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ. เล่มเดิม.
24 From “Social identity, system justification, and social dominance: Commentary on Reicher, Jost et
al., and Sidnius et al,” by Rubin, M.; Hewstone, M.; et al, 2004, Political Psychology, 25(6), p. 823-844, in
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ. เล่มเดิม. (น.2).