Page 82 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 82
24 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
“หมายถึง ความแตกต่าง การกีดกัน หรือ การจ ากัด บนพื้นฐานของความพิการ ซึ่งมีความมุ่ง
ประสงค์หรือส่งผลให้เป็นการเสื่อมเสียหรือท าให้ไร้ผลซึ่งการยอมรับ การอุปโภคหรือการใช้สิทธิมนุษยชนและ
เสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งปวงบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกับบุคคลอื่นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมความ
เป็นพลเมืองหรือด้านอื่น รวมถึงการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ รวมทั้งการปฏิเสธการช่วยเหลือที่
31
สมเหตุสมผล”
ส าหรับที่มาของการห้ามเลือกปฏิบัติพบว่าเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ส าคัญอันปรากฏ
อยู่ในสนธิสัญญาหลายฉบับ โดยในปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
จ านวน 7 ฉบับ ได้แก่
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant
on Civil and Political Rights – ICCPR)
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International
Covenant on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR)
- อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อสตรี (Convention on the
Elimination of All Forms of Discrimination Against Women – CEDAW)
- อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child – CRC)
- อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the
Elimination of All Forms of Racial Discrimination – CERD)
- อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้
มนุษยธรรม หรือที่ย่ายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or
Degrading or Punishment – CAT)
- อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities
– CRPD)
นอกจากกฎหมายระหว่างประเทศในกรอบของสหประชาชาติดังกล่าวข้างต้นแล้ว ในระดับ
ภูมิภาค ยังปรากฏหลักความเท่าเทียมกันและการห้ามเลือกปฏิบัติในกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาค
เช่นอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Convention on Human Rights) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ
มนุษยชนแห่งอเมริกา (American Convention on Human Right) กฎบัตรอาฟริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
และสิทธิปวงชน (The African Charter on Human and People’s Rights) เป็นต้น โดยรายละเอียดจะ
กล่าวในหัวข้อถัดไป
เมื่อพิจารณาในระดับกฎหมายต่างประเทศพบว่า หลายประเทศมีการก าหนดกฎหมายภายในที่
คุ้มครองบุคคลจากการถูกเลือกปฏิบัติโดยอาจเรียกว่า กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ (Anti-Discrimination
Law) หรือกฎหมายความเท่าเทียมกัน (Equality Law) เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา อาฟริกาใต้ ฟินแลนด์
31 Article 2, Convention on the Rights of Persons with Disabilities (CRPD).