Page 85 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 85

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                     กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 27

                         - การเลือกปฏิบัติในมิติของการจ้างงานและการประกอบอาชีพ อาจเกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา

               เช่น การไม่รับบุคคลที่ติดเชื้อ HIV เข้าท างาน การก าหนดคุณสมบัติด้านความพิการของบุคคล การเลือกปฏิบัติ
               ในการด าเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงาน เช่น การสรรหา (Recruitment) การคัดเลือก
               (Selection) การเลือกปฏิบัติโดยไม่จ้างบุคคลด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เช่น การไม่รับผู้หญิงที่นับถือ
               ศาสนาอิสลามเข้าท างาน การล่วงละเมิดทางเพศในบริบทหรือสภาพแวดล้อมของการท างาน (Sexual
               Harassment) ที่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศประการหนึ่ง

                         - การเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวกับการศึกษาและฝึกอบรม อาจเกี่ยวข้องกับสภาพปัญหา เช่น การ
               ปฏิเสธไม่รับบุคคลเข้าศึกษาด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ ศาสนา เพศ สภาพร่างกาย
               ความพิการ ฯลฯ

                         - ในมิติของบริการสาธารณะและบริการสังคม การเข้าถึงสินค้าและ/หรือบริการจาก
               ผู้ประกอบการเอกชน นอกจากการเลือกปฏิบัติในมิติของการเข้าถึงบริการสาธารณะที่จัดท าโดยภาครัฐแล้ว
               ยังปรากฏว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ประกอบการสินค้าและ/หรือบริการ โดยเหตุการณ์เลือก
               ปฏิบัติอาจเกี่ยวข้องกับเหตุที่กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายประเทศต่าง ๆ คุ้มครอง เช่น การปฏิเสธ
               ให้บริการด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ สีผิว เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองในประเด็นนี้

               โดยเฉพาะแต่อย่างไร นอกจากนี้ยังมีกรณีการปฏิบัติที่ “มีลักษณะกีดกัน” หรือ “ท าให้เกิดความพึงพอใจน้อย
               กว่าคนอื่น” (Less Favorable Treatment) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยค าพูดหรือการสื่อสาร
               ซึ่งท าให้เกิดความเกลียดชัง (Hate Speech) ด้วยเหตุต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ ศาสนา

                         ปัจจัยทั้ง 2 ดังกล่าวข้างต้น จะได้น ามาใช้ในการจ าแนกวิเคราะห์สภาพปัญหาและข้อเท็จจริง
                                                                                   38
               เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติต่อไป โดยอาจสรุปความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้ง 2 แสดงในรูปที่ 3 ต่อไปนี้

















                    38 จาก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ. เล่มเดิม. (น. 10).
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90