Page 83 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 83
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 25
สวีเดน สิงค์โปร์ มีการก าหนดกฎหมายห้ามการเลือกปฏิบัติ (Anti-Discrimination Law) โดยมีรูปแบบและ
ลักษณะของกฎหมายที่แตกต่างกันไป
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การห้ามเลือกปฏิบัติมีส่วนสัมพันธ์กับการส่งเสริมหลักความเท่าเทียมกัน โดย
การเลือกปฏิบัติยังอาจจ าแนกเป็นการเลือกปฏิบัติโดยตรงและการเลือกปฏิบัติโดยอ้อม ส าหรับการเลือกปฏิบัติ
โดยตรงนั้นเป็นการพิจารณาถึงการปฏิบัติที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลในสภาวะหรือเงื่อนไขที่เหมือนกัน ซึ่งมัก
พบในกรณีของการไม่ให้สิทธิบางประการกับบุคคลบางคนหรือบางกลุ่มด้วยเหตุที่บุคคลนั้นจัดอยู่ในกลุ่มที่
เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ ในกรณีภาครัฐ เช่น การตรากฎหมายจ ากัดสิทธิบุคคลบางกลุ่มด้วยเหตุ
แห่งการเลือกปฏิบัติ กรณีการกระท าของภาคเอกชน เช่น การที่นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างแตกต่างกันด้วยเหตุ
แห่งการเลือกปฏิบัติ หรือการกระท าของภาคเอกชนที่ปฏิเสธการให้บริการหรือจ าหน่ายสินค้ากับบุคคลบาง
กลุ่มด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ การเลือกปฏิบัติโดยตรงนี้จะเห็นได้จากการปฏิบัติที่มีวัตถุประสงค์เห็นได้ว่า
เป็นการเลือกปฏิบัติอันสะท้อนจากลักษณะหรือรูปแบบของการปฏิบัติที่มีความแตกต่างกันระหว่างบุคคลที่
เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีกรณีการเลือกปฏิบัติโดยอ้อม ซึ่งเป็นกรณีที่แม้การปฏิบัติหรือกฎเกณฑ์นั้นมีลักษณะ
เป็นกลาง (Neutral) แต่ส่งผลกระทบ (Impact) ในทางลบต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศได้ก าหนดนิยามและขอบเขตของการเลือก
ปฏิบัติโดยตรงและโดยอ้อมแตกต่างกันไป
32
2.1.3.2 เหตุของการเลือกปฏิบัติ (ground of discrimination) และมิติของการเลือกปฏิบัติ
(area of discrimination)
จากความหมายดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า หลักความเสมอภาคเป็นหลักส าคัญซึ่งกฎหมาย
ระหว่างประเทศและกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องต่างรับรองไว้ ทั้งนี้เพื่อบรรลุถึงหลักดังกล่าวกฎหมายจึงต้อง
ขจัดหรือป้องกันพฤติกรรมบางอย่างซึ่งส่งผลเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อหลักความเสมอภาคหรือหลักความเท่า
เทียมกัน ซึ่งได้แก่ การปฏิบัติที่แตกต่างกันระหว่างสิ่งที่เหมือนกัน หรือการปฏิบัติที่เหมือนกันต่อสิ่งที่ต่างกัน
รวมทั้งการปฏิบัติที่เหมือนกันแต่ส่งผลให้เกิดความเสียเปรียบต่อบุคคลบางกลุ่ม การปฏิบัติเหล่านี้อาจเรียกได้
ว่า “การเลือกปฏิบัติ” ทั้งนี้ หากการปฏิบัติที่แตกต่างนั้น มีลักษณะที่สัมพันธ์กับ “เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ”
(Ground of Discrimination) ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายก าหนดไว้ โดยเหตุเหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องกับ
คุณลักษณะเฉพาะของกลุ่มบุคคลในสังคมซึ่งมักเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางหรือมีประสบการณ์ที่ถูกกีดกัน ถูก
ผลักให้เป็นกลุ่มชายขอบ (Marginalized Group) โดยการเลือกปฏิบัติอาจเกิดขึ้นในมิติต่าง ๆ ของการด าเนิน
ชีวิตในสังคม เช่น การเลือกปฏิบัติในมิติของการจ้างแรงงานและการประกอบอาชีพ การเลือกปฏิบัติในมิติของ
การบริการภาครัฐหรือภาคเอกชน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่าหลักการห้ามเลือกปฏิบัติจะน าไปสู่ความเท่า
เทียมกันในท้ายที่สุด โดยการศึกษาวิจัยปัญหาการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ จะได้น าปัจจัยสองประการซึ่งมีความ
33
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ได้แก่
32 จาก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ. เล่มเดิม. (น. 6-7).
33 จาก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ. เล่มเดิม. (น. 7-10).