Page 77 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 77
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 19
ก. เป็นสิทธิที่ติดตัวมากับมนุษย์ คือ เมื่อคนเกิดมาก็จะมีสิทธิมนุษยชนติดตัวมาด้วย เพราะความ
เป็นมนุษย์ ไม่มีการยกให้ หรือซื้อ หรือสืบทอดมา
ข. เป็นสิทธิที่เป็นสากล คือ เป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคนเหมือนกัน ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ เพศ นับถือ
ศาสนาใด หรือมาจากพื้นฐานทางสังคม หรือระบบการเมืองใด มนุษย์ทุกคนมีอิสรเสรี มีความเท่าเทียมกันใน
ศักดิ์ศรีและสิทธิ
ค. เป็นสิทธิที่ไม่อาจถ่ายโอนให้แก่กันได้ คือ ไม่มีใครมาแย่งชิงเอาสิทธิมนุษยชนไปจากบุคคลใด
บุคคลหนึ่งได้ ถึงแม้ว่ากฎหมายของประเทศจะไม่ยอมรับรองสิทธิมนุษยชน หรือแม้ว่าจะละเมิดสิทธิมนุษยชนก็
ตาม ประชาชนของประเทศนั้น ก็ยังมีสิทธิมนุษยชนอยู่ ตัวอย่างเช่น ในสมัยที่ยังมีการค้าทาส ทาสทุกคน ใน
ฐานะเป็นมนุษย์ ย่อมมีสิทธิมนุษยชน ถึงแม้ว่าสิทธิดังกล่าว จะถูกละเมิดก็ตาม
ง. เป็นสิทธิที่ไม่อาจถูกแยกออกจากกัน คือ มนุษย์มีสิทธิต่าง ๆ ทั้งหมด เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมี
ศักดิ์ศรี มีเสรีภาพ มีความมั่นคง และมีมาตรฐานการด ารงชีวิต ที่เหมาะสมกับความเป็นมนุษย์
ดังนั้น ผู้สูงอายุ จึงมีสิทธิและเสรีภาพในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่มีอายุสูงขึ้นภายใต้ปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน
ในทางรัฐศาสตร์ "สิทธิ" (Rights) ของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ที่ดูเหมือนจะตรงข้ามกันคือ
สิทธิเชิงลบ (Negative Rights) และ สิทธิเชิงบวก (Positive Rights) สิทธิเชิงลบคือ สิ่งที่ประชาชน "ไม่
ต้องการ" ให้รัฐเข้ามาวุ่นวาย หลัก ๆ คือเรื่อง เสรีภาพในการพูด และการไม่แทรกแซงความเป็นส่วนตัว สิทธิใน
เชิงบวกคือ สิทธิที่ประชาชน "ต้องการ" ให้รัฐเข้ามาจัดการ เช่น สวัสดิการพื้นฐานของรัฐ เช่น การประกัน
สุขภาพ,การมีโรงเรียนของรัฐบาล รวมถึง การลดความเหลื่อมล้ าและสร้างความเท่าเทียมในเชิงสังคม
เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เช่น การออกพระราชบัญญัติชีวิตคู่, การออกกฎหมายที่เพื่อคุ้มครองสิทธิของทุกชน
ชาติศาสนา
2.1.3 หลักความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
หลักความเสมอภาคเป็นหลักที่มีความส าคัญยิ่ง เพราะถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็น
มนุษย์ ซึ่งหมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อบุคคลสามารถน าสิทธิต่าง ๆ ที่
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองคุ้มครองแก่บุคคลนั้นไปอ้างได้อย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น การเลือกปฏิบัติโดยอาศัย
เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นก าเนิด ฯลฯ นอกจากเป็นการขัดต่อหลักความเสมอภาคแล้ว ยังถือเป็นการขัดต่อ
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อีกด้วย นอกจากนี้หลักความเสมอภาคยังมีความส าคัญในฐานะเป็นหลักการที่น ามาใช้
เพื่อตรวจสอบการกระท าของรัฐทั้งหลายอีกด้วย
ความเสมอภาคในทางกฎหมายเป็นหลักการที่เป็นพื้นฐานของความยุติธรรม เนื่องจากเป็นหลักที่
เรียกร้องให้มีการปฏิบัติต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ อย่างเท่าเทียมกัน ในที่นี้อาจสรุปหลักเกณฑ์กว้าง ๆ
ของหลักความเสมอภาคได้ว่า จะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระส าคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน และจะต้อง
ปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระส าคัญแตกต่างกันให้แตกต่างกันไปตามลักษณะของเรื่องนั้น ๆ ส่วนประเด็นที่ว่า อะไรเป็น