Page 84 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 84
26 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
1) เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ (Grounds of Discrimination, Protected Ground)
การปฏิบัติที่แตกต่างกันจะจัดเป็นการเลือกปฏิบัติซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ เมื่อ
การปฏิบัตินั้นเกี่ยวข้องกับ “เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ” เมื่อพิจารณาหลักกฎหมายระหว่างประเทศพบว่า
เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติมีการระบุไว้ เช่น
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ก าหนดเหตุแห่งการเลือก
ปฏิบัติครอบคลุม “เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ชาติ
34
หรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน ก าเนิด หรือสถานะอื่น”
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม ก าหนดเหตุแห่งการ
เลือกปฏิบัติครอบคลุม “เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด
35
ชาติหรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน ก าเนิด หรือสถานะอื่น”
- อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ก าหนดเหตุแห่งการเลือก
36
ปฏิบัติครอบคลุม “เชื้อชาติ สีผิว เชื้อสาย หรือ ชาติกาเนิด หรือ เผ่าพันธุ์ก าเนิด”
- อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ก าหนดเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเฉพาะกรณี
37
“ความพิการ”
- นอกจากนี้ ในระดับกฎหมายภายในประเทศ ก็ได้มีการก าหนดเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติไว้ใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก าหนดเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติไว้ในมาตรา 27 วรรค
สามว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นก าเนิด เชื้อชาติ
ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
หรือเหตุอื่นใด จะกระท ามิได้….”
กล่าวโดยสรุป เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติซึ่งประกอบด้วยเหตุต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ เชื้อสาย ชาติ
ก าเนิดเผ่าพันธุ์ก าเนิด ชาติหรือสังคมดั้งเดิม สีผิว เพศ รสนิยมทางเพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการ
เมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ความพิการ ทรัพย์สิน ก าเนิด หรือสถานะอื่น เป็นต้น
2) มิติของการเลือกปฏิบัติ (Area of Discrimination , Area Covered)
การปฏิบัติที่แตกต่างกันอันเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติอาจเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ
หรือเรียกได้ว่าเกิดขึ้นในมิติต่าง ๆ ของบุคคลในการด าเนินชีวิต เช่น การทางาน การศึกษา การจ้างงาน บริการ
ภาครัฐ การประกอบธุรกิจ การประกอบวิชาชีพ การเป็นสมาชิกองค์กร สินค้าและบริการในภาคเอกชน การ
ประชุมสัมมนา กิจกรรมสาธารณะ เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามิติของการเลือกปฏิบัติ อาจมีความเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ
และภาคเอกชน เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้งสองประการแล้วท าให้สามารถจ าแนกสภาพปัญหา
ได้หลายประการ เช่น
34 Article 2, International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR).
35 Article 2, International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR).
36 Article 1, Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination (CERD).
37 Article 2, Convention on the Rights of Persons with Disabilities (CRPD).