Page 74 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 74
16 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แนวความคิดของส านักกฎหมายธรรมชาติไปบัญญัติรับรองให้เป็นสิทธิตามกฎหมายบ้านเมือง และกฎหมาย
พื้นฐานในลักษณะเช่นนี้เข้าไปมีบทบาทในประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นยุโรปอย่างมาก อาจกล่าวได้ว่า
17
แนวความคิดของส านักกฎหมายธรรมชาติมีบทบาทต่อทฤษฎีในทางการเมืองและทฤษฎีในทางกฎหมาย
สิทธิและเสรีภาพมาจากประชาชน ดังนั้น การจ ากัดสิทธิและเสรีภาพย่อมมาจากประชาชน การ
แสดงเจตนารมณ์ของประชาชนที่สมบูรณ์ตามอุดมคติจะต้องไม่มีองค์กรใดมาคั่นกลางระหว่างการแสดง
เจตนารมณ์โดยปวงชนโดยตรงกับเจตนารมณ์ที่แสดงออก ซึ่งหมายถึง ประชาธิปไตยโดยประชาชนโดยตรง แต่
เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่า ในรัฐยุคใหม่นั้นการใช้อ านาจอธิปไตยของประชาชนโดยตรงที่ไม่ผ่านผู้แทนนั้นเป็น
เรื่องยากและเป็นไปไม่ได้ จึงต้องมีกรรมการหรือตัวแทนผู้ใช้อ านาจแทนประชาชนที่เป็นเจ้าของอ านาจ
อธิปไตยนั้น การปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นแบบตัวแทนที่ประชาชนได้เลือก เข้าไปใช้
อ านาจรัฐแทนทั้งสิ้น ซึ่งจะเป็นการเลือกได้แค่ไหนเพียงไรหรือระดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปกครองของ
ในแต่ละเมือง การใช้อ านาจรัฐของประชาชนผ่านระบบตัวแทนในรูปแบบขององค์กรผู้ใช้อ านาจ เช่น องค์กร
นิติบัญญัติ (Legislative) หรือรัฐสภา (Parliament) ใช้อ านาจในการตรากฎหมายขึ้นใช้บริหารและปกครอง
ระบบราชการตามวิธีการที่รัฐธรรมนูญและกฎหมาย ให้อ านาจไว้ องค์กรตุลาการ (Judicial Organization)
หรือศาล (Judge) ใช้อ านาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเมื่อเกิดข้อพิพาทหรือปัญหาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
และกฎหมาย ดังนั้นการจ ากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จึงต้องเป็นไปโดยผลของกฎหมายที่ตราขึ้นโดย
18
องค์กรซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนด้วยเช่นกัน คือ รัฐสภา (Parliament) นั่นเอง
2.1.1.2 ประเภทของสิทธิเสรีภาพ
ในการพิจารณาแบ่งประเภทของสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งอาจแบ่งแยกออกได้หลายลักษณะ แต่ใน
ที่นี้จะพิจารณาการแบ่งประเภทของสิทธิและเสรีภาพตามลักษณะของสิทธิและเสรีภาพนั้นประการหนึ่ง และ
โดยพิจารณาจากผู้ทรงสิทธิอีกประการหนึ่ง
19
(1) การแบ่งประเภทสิทธิและเสรีภาพตามลักษณะของสิทธิและเสรีภาพ
Georg Jellinek นักนิติศาสตร์ชาวเยอรมันเป็นผู้เสนอแนวคิดในการแบ่งสิทธิและเสรีภาพตาม
ลักษณะของการใช้สิทธิเสรีภาพกับหน้าที่ของรัฐ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการแบ่งสิทธิเสรีภาพตามแนวคลาสสิคของ
เยอรมัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
(1.1) status negativus หรือ negative right หมายถึง กลุ่มของสิทธิและเสรีภาพที่การใช้สิทธิ
เสรีภาพของปัจเจกบุคคลจะต้องปราศจากการเข้ามาแทรกแซงใด ๆ ของรัฐ บุคคลสามารถด าเนินการไปได้เอง
โดยรัฐไม่จ าต้องเข้ามาด าเนินการใด ๆ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สิทธิในการป้องกัน” โดยบุคคลอาจเรียกร้องให้
17 จาก กฎหมายที่มีบทบัญญัติไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ (น. 128), โดย มูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมาย, 2546,
กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมาย.
18 จาก กฎหมายรัฐธรรมนูญ (น. 44 – 45), โดย สมคิด เลิศไพฑูรย์, 2548, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
19 จาก หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (น. 52-53), โดย บรรเจิด สิงคะเนติ, 2552,
กรุงเทพฯ: วิญญูชน.