Page 73 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 73

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                     กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 15

                                                   บทที่ 2

                        แนวคิดทั่วไปว่าด้วยสิทธิและมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ

                     เพื่อความเข้าใจในแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิและมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ
               สาระส าคัญของบทนี้จึงเป็นการทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ แนวคิด

               ทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและกลไกการคุ้มครองสิทธิ (2.1) การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของ
               ประเทศไทย (2.2) องค์กรที่มีบทบาทและอ านาจหน้าที่หลักในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
               (2.3) หลักการส าหรับผู้สูงอายุขององค์การสหประชาชาติ (2.4) มาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

               ของผู้สูงอายุ (2.5) และความพยายามในการร่างสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุ (2.6) โดยมี
               รายละเอียดแสดงในหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

               2.1 แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและกลไกการคุ้มครองสิทธิ

                     ในหัวข้อนี้จะได้ศึกษาถึง หลักทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ (2.1.1) ลักษณะส าคัญของสิทธิมนุษยชน

               (2.1.2) หลักความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ (2.1.3) และตราสารด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
               (2.1.4)

                     2.1.1 หลักทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ


                     สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เริ่มมีการเรียกร้องให้รับรองและคุ้มครองมาตั้งแต่สมัยอดีต และมีการ
               พัฒนาแนวความคิดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันในแต่ละประเทศรวมถึงประเทศไทย บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้มี
               การรับรอง คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ ด้วยเหตุนี้ในการตรากฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือ

               การใช้บังคับกฎหมายของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองจะต้องค านึงว่ากฎหมายดังกล่าวนั้นไปกระทบต่อสิทธิ
               และเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง คุ้มครองไว้หรือไม่ และจะต้องค านึงเป็นประการส าคัญ
               เสมอเพราะสิทธิและเสรีภาพเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) ซึ่งเป็นหลักการ

               พื้นฐานของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะต้องเคารพ หากละเลยหรือไม่คุ้มครองย่อมส่งผลต่อ
               เกียรติภูมิของประเทศ

                         2.1.1.1 ความเป็นมาของแนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ

                         แนวความคิดของส านักกฎหมาย ธรรมชาติมีบทบาทส าคัญในทางพัฒนาการแนวความคิด ในทาง
               กฎหมายในยุคต่อมา ทั้งในทางรูปแบบ ซึ่งถือว่าแนวคิดกฎหมายธรรมชาติวางรากฐานในเรื่องล าดับชั้นของ
               กฎหมาย (Legal Hierarchy) และในทางเนื้อหา ซึ่งกฎหมายธรรมชาติเห็นว่า มีกฎเกณฑ์ที่ส าคัญซึ่งยอมรับ
               สิทธิที่ติดตัวมนุษย์หรือสิทธิมนุษยชน (Human Right) อันเป็นสิทธิที่ก าหนดความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจก
               บุคคลด้วยกันและก าหนดความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคลกับรัฐ และต่อมาแนวความคิดที่ยอมรับสิทธิที่ติด

               ตัวมนุษย์ได้รับการบัญญัติรับรองไว้ในกฎหมายพื้นฐาน ซึ่งเป็นกฎหมายที่อยู่ในล าดับชั้นที่สูงกว่า เป็นการน า
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78