Page 322 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 322
264 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ทัศคติให้คนทุกช่วงวัยที่เคยกระท าผิดกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างสงบสุขและเป็นก าลังส าคัญในการพัฒนา
ประเทศ
ทั้งนี้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นการเชื่อมโยง
และบูรณาการข้อมูลด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างกระทรวง หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็น
ธนาคารคลังสมองเพื่อรวบรวมผู้สูงอายุที่มีความรู้ ประสบการณ์ และทักษะ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์
และทักษะ ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ
(2). ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
เป็นยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายการพัฒนาที่ให้ความส าคัญกับการดึงเอาพลังของภาคส่วนต่าง ๆ ไม่
ว่าจะเป็นภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน โดยการสนับสนุนการรวมตัวของประชาชน
ในการร่วมคิดร่วมท าเพื่อส่วนรวม เป็นการเตรียมความพร้อมของประชากรไทยทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ
สังคมและสภาพแวดล้อมให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเองได้และท าประโยชน์แก่ครอบครัว
ชุมชนและสังคมให้นานที่สุด
โดยมีเป้าหมายสร้างสังคมที่แบ่งปัน ไม่ทอดทิ้งกัน และมีคุณธรรม โดยสนับสนุนการรวมตัวและ
ดึงพลังของภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะการเชื่อมพลังของคนสามวัย คือ เยาวชนคนรุ่นใหม่ คนวัยท างานและ
ผู้สูงอายุ ให้มาเป็นก าลังของการพัฒนาส่วนรวมโดยการสร้างเวทีกลางเป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อปรึกษาหารือ
ปัญหาสาธารณะของพื้นที่ ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น อ าเภอจนถึงระดับจังหวัด
(2) กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง
ความสามารถของผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่กฎหมายให้การรับรองว่าผู้สูงอายุนั้นสามารถที่กระท าการสิ่ง
ใดได้โดยชอบ ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติรับรองความสามารถของผู้สูงอายุไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมายล าดับรอง
นโยบาย ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ ซึ่งสามารถจ าแนกได้ดังนี้
273
(2.1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ถือเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ มี
บทบัญญัติสิทธิและหน้าที่ของประชาชนทุกคน รวมถึงการก าหนดความสามารถในการเข้าถึงกฎหมายของ
ประชาชนด้วย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งยังคง
หลักการและสาระส าคัญในประเด็นความสามารถของบุคคลไว้ดังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 พุทธศักราช 2550 ไม่ว่าจะเป็นความสามารถดังปรากฏในมาตรา 34 ที่ให้สิทธิและเสรีภาพ
ของบุคคลในการแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะแสดงออกผ่านการพูด การเขียน หรือวิธีอื่น ๆ และในมาตรา 54 ที่
บัญญัติให้บุคคลสามารถที่จะมีสิทธิในการได้รับการศึกษาอบรมโดยส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้
273 บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง สามารถพิจารณาได้ในตารางที่ 13 ตารางเปรียบเทียบสิทธิของผู้สูงอายุตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, พุทธศักราช 2550 และพุทธศักราช 2560.