Page 321 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 321

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 263

                         จากการศึกษาพบว่า สิทธิผู้สูงอายุ เป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองปรากฏอยู่ในกฎหมายว่าด้วยสิทธิ

               มนุษยชน ในฐานะที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์โดยบัญญัติไว้ชัดเจนในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
               ซึ่งเป็นแนวทางให้ทุกรัฐต้องยึดถือและปฏิบัติตามแนวนโยบายองค์การสหประชาชาติ ในแผนปฏิบัติการ
               ระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้มีการร่วมมือกันในระดับ
               ภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในการรับรองสิทธิของผู้สูงอายุ เริ่มปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อองค์การ
               สหประชาชาติได้ประกาศให้ ปี ค.ศ.1999 เป็นปีผู้สูงอายุสากล และก าหนดสิทธิและแนวทางในการรับรองสิทธิ

               ผู้สูงอายุ โดยยึดหลักความเท่าเทียมกัน
                         การเคารพสิทธิของผู้สูงอายุในประเทศไทย อิงอยู่กับหลักวัฒนธรรมจารีตประเพณีที่สืบทอดกัน
               มาแต่ครั้งโบราณกาลที่สังคมไทยเห็นว่า ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่สมควรได้รับการเคารพกราบไหว้จากลูกหลาน ไม่ถูก

               ลบหลู่ ดูถูกหรือเหยียดหยาม ใครก็ตามที่กระท าการดังกล่าวต่อผู้สูงอายุจะได้รับการประณามจากสังคม สิทธิ
               ของผู้สูงอายุในสังคมไทย ผู้สูงอายุจะได้รับความเคารพ การอุปการะเลี้ยงดู จึงเกิดขึ้นตามประเพณีไทยและ
               ค่านิยมของสังคมไทย จารีตประเพณีไทย เนื่องจากลักษณะของครอบครัวไทยเป็นครอบครัวขยายผู้สูงอายุจึง
               เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลานเสมอมา  ส าหรับแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิของผู้สูงอายุที่ได้รับการรับรอง
               ในลักษณะของตัวบทกฎหมายนั้นจะอิงอยู่บนพื้นฐานทางวัฒนธรรมและจารีตประเพณีของไทย


                         4.3.2.2 มาตรการทางกฎหมาย


                         (1) ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง
                         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65 ก าหนดให้รัฐพึงจัดให้มี
               ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) อันเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลัก
               ธรรมาภิบาล เพื่อเป็นกรอบในการจัดท าแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดัน

               ร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันได้มีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้วประกอบด้วย 6
               ยุทธศาสตร์ชาติ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องและเกี่ยวข้องกับความสามารถด้านกฎหมายใน
               ผู้สูงอายุ ดังนี้
                          (1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

                         เป็นยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายการพัฒนาที่ส าคัญเพื่อพัฒนาคนทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี
               เก่งและมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีใน
               ทุกช่วงวัย
                         โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพตลอดช่วงชีวิต มีการมุ่งเน้นการพัฒนาคนเชิงคุณภาพในทุก

               ช่วงวัย ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ มีทักษะความรู้ เป็นคนดี
               มีวินัย เรียนรู้ได้ด้วยตนเองทุกช่วงชัย มีความรอบรู้ มีความสามารถในการวางแผนชีวิตและการวางแผนทาง
               การเงินที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย และความสามรถในการด ารงชีวิตอย่างมีคุณค่า รวมถึงการพัฒนาและปรับ
   316   317   318   319   320   321   322   323   324   325   326