Page 320 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 320

262 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

                       นักจิตวิทยาสังคมระบุว่า การปรับตัวเข้าสู่บทบาทผู้สูงอายุเป็นเรื่องยาก สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะ
             งานที่เปลี่ยนเข้าสู่กลุ่มผู้สูงอายุนั้น ขาดกลุ่มสนับสนุน เด็กได้รับการสอนให้เรียนรู้ถึงบทบาทวัยรุ่นและวัยรุ่น
             ได้รับการฝึกฝน วิธีที่จะเป็นผู้ใหญ่ แต่มีผู้ใหญ่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่ได้รับการฝึกฝนที่จะเป็นผู้สูงอายุ คน

             สมัยใหม่ยังเห็นว่า ค่านิยมทางวัฒนธรรมจารีตประเพณีเป็นเรื่องล้าสมัย ความผูกพันระหว่างพี่น้อง เครือญาติ
             การกตัญญูกตเวที จะต้องมีขอบเขตจ ากัด จึงเกิดลักษณะวัฒนธรรมสมัยใหม่ ที่ต่างคนต่างช่วยตนเอง ตัวใคร
             ตัวมัน ผู้ที่อยู่ในสังคมสมัยใหม่ได้จะต้องมีความสามารถแบบพหูสูต รอบรู้ทุกเรื่อง และที่ส าคัญต้องพึ่งตนเองได้
             ด้วยเหตุนี้ผู้สูงอายุในสังคมไทยสมัยใหม่อีก 10 -20 ปีข้างหน้าจะต้องเป็นผู้สูงอายุที่มีความพร้อมทั้งร่างกาย

                                                                                       270
             จิตใจ ความรู้ ความสามารถ กล่าวโดยรวมหมายถึง ผู้สูงอายุ จะต้องมีศักยภาพในชุมชนที่เข็มแข็งนั่นเอง
                       จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า การที่ผู้สูงอายุจะท าการใดได้นั้น ผู้สูงอายุจะต้องมีความสามารถ
             ซึ่งในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงความสามารถในทางกฎหมายเท่านั้น แต่ก่อนที่อธิบายความสามารถในทางกฎหมาย
             ของผู้สูงอายุในประเทศไทย จ าเป็นที่จะต้องท าความเข้าใจกับนิยามและรูปแบบของความสามารถในทาง

             กฎหมาย ดังนี้
                       ค ว ามสามารถของบุคคล ในทางนิติศาสตร์นั้นได้ให้ความสามารถไว้สองประการคือ
             ความสามารถที่บุคคลจะมีสิทธิและความสามารถที่บุคคลจะใช้สิทธิ บุคคลจะใช้สิทธิในการกระท าการใดได้นั้น
             กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีความสามารถจะกระท าการนั้นก่อน เพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดแก่บุคคลนั้นเอง

                       271
             และบุคคลอื่น   โดยบุคคลประเภทที่กฎหมายสันนิษฐานว่าไม่อยู่ในภาวะที่จะบริหารความสามารถของตนได้
             อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่ง
             ความสามารถของบุคคลเหล่านี้จะถูกจ ากัดมากน้อยแล้วแต่กรณี
                                      272
                       อรพินท์ ขจรอ าไพสุข   ได้จัดประเภทความสามารถ ดังนี้
                       1. ความสามารถที่จะมีสิทธิ คือ การที่บุคคลสามารถมีสิทธิหรือการที่บุคคลผู้ทรงสิทธิ ไม่ว่าจะ
             เป็นเด็ก คนแก่ คนพิการ สตรี ฯลฯ ย่อมมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายนับตั้งแต่เกิดมา ย้อนหลังไปถึงตอนที่
             ปฏิสนธิเป็นทารกในครรภ์มารดา ไปจนถึงเมื่อตาย นอกจากนี้สิทธิบางอย่างของบุคคลจะได้รับเมื่อเข้าเกณฑ์ที่
             กฎหมายก าหนดด้วย

                       2. ความสามารถที่จะใช้สิทธิ คือ การที่บุคคลสามารถกระท าการใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์
             ส่วนตนและเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอก บุคคลนั้นแม้จะมีสิทธิแต่ในบางกรณีไม่อาจใช้สิทธิได้เพราะกฎหมาย
             ก าหนดไว้
                       จากนิยามข้างต้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า ความสามารถในทางกฎหมายของผู้สูงอายุคือ การที่

             บุคคลที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป สามารถที่จะมีสิทธิหรือใช้สิทธิใด ๆ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายก าหนดไว้
             นั่นเอง


                  270 จาก “บทบาทผู้สูงอายุต่อสังคม ครอบครัว ชุมชน”, โดย ส่วนอนามัยผู้สูงอายุ ส านักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย, งานส่งเสริม
             สุขภาพผู้สูงอายุ, สืบค้นจาก http://hp.anamai.moph.go.th.
                  271 จาก ค าอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง: หลักทั่วไปว่าด้วยบุคคลธรรมดาและหลักทั่วไปว่าด้วยนิติบุคล, โดย กิติศักดิ์
             ปรกติ, ม.ป.ป., กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
                  272 จาก ผู้ทรงสิทธิ, ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย, 2551, กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
   315   316   317   318   319   320   321   322   323   324   325