Page 326 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 326
268 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ก าหนดให้มีสิทธิได้รับเงินบ านาญหรือบ าเหน็จชราภาพได้ ซึ่งกรณีของบ านาญชราภาพนั้น จะจ่ายให้เมื่อเข้า
หลักเกณฑ์ กล่าวคือ มีการจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 180 เดือนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และความเป็น
ผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
ส่วนกรณีบ าเหน็จชราภาพจะจ่ายให้เมื่อเข้าหลักเกณฑ์จ่ายเงินสมทบไม่ครบ 180 เดือนและ
ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงและมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์หรือเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย
กฎหมายดังกล่าวนี้เป็นการจัดสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุที่จะมีเงินยังชีพเมื่อสูงอายุหรือ
เกษียณอายุการท างาน ซึ่งผู้สูงอายุที่จะได้รับประโยชน์คือ ผู้สูงอายุที่ท างานในภาคเอกชนโดยจะต้องจ่ายเงิน
สมทบเข้ากองทุนประกันสังคมแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี ฉะนั้นหากผู้สูงอายุรายใดไม่เคยจ่ายเงินสมทบหรือไม่ได้
เป็นผู้ประกันตนเพราะไม่อยู่ในฐานะของลูกจ้างก็จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือยามชราภาพ
(2.2.5) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
กฎหมายฉบับนี้ได้ก าหนดหลักการศึกษาตลอดชีวิตส าหรับประชาชน ไว้ในมาตร 8 (1) ซึ่ง
การศึกษาตลอดชีวิตนี้เป็นการศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ กับการศึกษานอก
ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากบทบัญญัติ
ดังกล่าวสามารถท าให้ผู้สูงอายุมีโอกาสได้รับการศึกษาเพื่อที่จะน าความรู้ที่ได้รับมานั้นพัฒนาตนเองให้มี
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
(2.2.6) พระราชบัญญัติเกี่ยวกับบ าเหน็จบ านาญ ต่าง ๆ
มาตรการดังกล่าวเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับราชการ
ท าให้เห็นถึงเหตุผลส าคัญที่ท าให้อาชีพรับราชการในสมัยก่อนเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากว่ามีการให้สวัสดิการที่ดี
เมื่อเกษียณอายุราชการในรูปของบ าเหน็จบ านาญ ท าให้ผู้รับราชการไม่ต้องกังวลว่า เมื่อเกษียณอายุราชการ
แล้วจะได้มีรายได้เลี้ยงดูตนเองหรือไม่และเนื่องจากยังได้รับเงินได้เพื่อเลี้ยงชีพและสวัสดิการที่สามารถเบิกค่า
รักษาพยาบาลได้ตลอดชีวิต
(2.2.7) พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
กฎหมายดังกล่าวได้มีบทบัญญัติรองรับแนวคิด Living Will อยู่ในมาตรา 12 โดยสามารถ
สรุปได้ว่า ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย หรือต้องทนทุกข์ทรมานอันเนื่องมาจากความชราภาพของตนนั้น สามารถท า
หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับการรักษาหรือบริการทางสาธารสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระ
สุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ ความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าว มุ่งที่จะ
รับรองสิทธิของบุคคลที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองที่จะขอตายอย่างสงบตามธรรมชาติ ไม่ถูกเหนี่ยวรั้ง
281
จากอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งมิใช่การการุณยฆาตหรือการเร่งการตายที่เป็น Active Euthanasia แต่เป็น
เรื่องการตายตามธรรมชาติ
281 การท าให้บุคคลตายโดยเจตนาด้วยวิธีการที่ไม่รุนแรงหรือวิธีการที่ท าให้ตายอย่างสะดวก หรือ การงดเว้นการ
ช่วยเหลือหรือรักษาบุคคล โดยปล่อยให้ตายไปเองอย่างสงบ หรือเรียกอีกอย่างว่า ปราณีฆาต.