Page 319 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 319

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 261

                         จากหลักการสากลที่ว่า มนุษย์ทั้งมวลย่อมเสมอภาคกันตามกฎหมาย และมีสิทธิอันชอบธรรมที่

               จะได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ และจากการกระตุ้นใด ๆ อันก่อให้เกิดการเลือก
               ปฏิบัติ ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้ ได้มีข้อก าหนดในอันที่เกี่ยวกับปัญหาการกระท าความรุนแรงและการละเมิดสิทธิ
               ต่าง ๆ ของผู้สูงอายุไว้ดังข้อ 5 (ข) สิทธิที่บุคคลจะได้รับสวัสดิภาพและการคุ้มครองโดยรัฐให้รอดพ้นจากความ
               รุนแรงหรือการท าร้ายร่างกาย ไม่ว่าโดยการกระท าของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือโดยกลุ่มบุคคลหรือสถาบันใดก็
               ตามและข้อ 6 รัฐภาคีจะรับประกันต่อทุกคนในอาณาเขตที่จะได้รับการคุ้มครองและการเยียวยาที่มี

               ประสิทธิภาพ โดยผ่านศาลระดับชาติและองค์กรของรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อการกระท าใด ๆ อันเป็นการเลือก
               ปฏิบัติทางเชื้อชาติ ซึ่งได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขึ้นพื้นฐานของบุคคลนั้น อันไม่สอดคล้องกับ
               อนุสัญญานี้และสิทธิในอันที่จะขอจากศาลนั้น การทดแทนอย่างยุติธรรมและพอเพียงและการชดใช้ความ

               เสียหาย อันเป็นผลจากการเลือกปฏิบัตินั้น
                         อนึ่งในกรอบองค์การสหประชาชาติ ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกของ
               สหประชาชาติ ได้มีการด าเนินการในพันธกรณีระหว่างประเทศด้านผู้สูงอายุ  คือ แผนปฏิบัติการระหว่าง
               ประเทศมาดริดว่าด้วยผู้สูงอายุ โดยมีสาระส าคัญที่เกี่ยวข้องกับการขจัดปัญหาความรุนแรงและการละเมิดสิทธิ
               ผู้สูงอายุดังในข้อที่ 3 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนและเหมาะสม (Ensuring Enabling and

               Supportive Environments) ซึ่งมีข้อก าหนดเกี่ยวกับการทอดทิ้ง ล่วงละเมิดและการใช้ความรุนแรง
               (Neglect, Abuse and Violence) กล่าวคือให้สมาชิกในสังคมยุติการทอดทิ้ง การล่วงละเมิดและการใช้ความ
               รุนแรงทุกรูปแบบต่อผู้สูงอายุ โดยใช้สื่อมวลชนในการรณรงค์เพื่อยกระดับความตระหนักรู้ ในประเด็นการถูก

               ล่วงละเมิดของผู้สูงอายุ ในลักษณะต่าง ๆ ของการล่วงละเมิด และสาเหตุ ตลอดจนรัฐจะต้องออกกฎหมายที่
               จ าเป็นในการขจัดการล่วงละเมิด สร้างบริการสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิด เช่น บริการส าหรับผู้ตก
               เป็นเหยื่อความรุนแรง การฟื้นฟูผู้ล่วงละเมิด สนับสนุนให้ผู้พบเห็นการล่วงละเมิดรายงานต่อรัฐ ฝึกอบรมผู้
               ปฏิบัติการด้านการดูแลให้มีความรู้ในการจัดการเมื่อผู้สูงอายุ ถูกล่วงละเมิด เป็นต้น
                         จากพันธกรณีระหว่างประเทศที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าเป็นหลักเกณฑ์และกรอบ

               การปฏิบัติอันมีวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการแก้ไขปัญหาการกระท าความรุนแรงและการละเมิดใน
               ผู้สูงอายุ โดยประเทศไทย ซึ่งเป็นภาคีของพันธกรณีดังกล่าวได้น าหลักการสากลมาเขียนรับรองไว้ใน
               ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


                     4.3.2 ความสามารถในทางกฎหมาย

                         4.3.2.1 สถานการณ์

                         ในปัจจุบันผู้คนมีอายุยืนยาวมากขึ้น คนที่อายุ 60 ปี มีโอกาสที่จะมีอายุถึง 80 ปี จึงท าให้สังคม
               จ าเป็นต้องเปลี่ยนมุมมองเรื่องผู้สูงอายุเสียใหม่ จากภาพคนชราที่ท าอะไรไม่ได้ เจ็บป่วย รอวันสิ้นลม ไปสู่ชีวิต
               ที่ยืนยาวขึ้นเพราะช่วงอายุ 60 ปี ถึง 80 ปี เป็นช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุสามารถด ารงรักษาสุขภาพ ท าการงานที่เป็น
               ประโยชน์และมีความสุขได้มาก
   314   315   316   317   318   319   320   321   322   323   324