Page 327 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 327

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 269

                           (2.3) กฎหมายล าดับรอง


                           (2.3.1) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุของ
               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552
                           การจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเริ่มในปี 2536 โดยมีรูปแบบการให้ความ

               ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนเดือนละ 200 บาท แต่ในปัจจุบัน การจ่ายเบี้ยยังชีพได้มีการแก้ไขให้จ่าย
               ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นแบบขั้นบันได โดยผู้สูงอายุที่มีอายุ 60-69 จะได้รับ
               600 บาท/ เดือน อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาท/เดือน อายุ 80-89 ปี ได้รับ 800บาท/เดือน และอายุ 90 ปี
               ขึ้นไป จะได้รับเงินเดือนละ 1,000/เดือน

                           การรับเบี้ยยังชีพนั้นถือเป็นความสามารถและสิทธิทางกฎหมายที่ผู้สูงอายุทุกคนพึงมีและพึง
               ได้รับไม่ว่าผู้สูงอายุท่านนั้นจะมีสถานะทางเศรษฐกิจอย่างไร หรือมีภูมิล าเนาอยู่แห่งใด ก็มีสิทธิที่จะได้รับเบี้ย
               ยังชีพนี้เสมอกัน

                           (2.3.2) กองทุนผู้สูงอายุ
                           กองทุนผู้สูงอายุ เป็นกองทุนที่จัดตั้งภายใต้อ านาจในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เพื่อ

               เป็นทุนใช้จ่ายเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุนผู้สูงอายุให้มีศักยภาพ ความมั่นคง และมี
               คุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมขององค์กร ที่ด าเนินงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสนับสนุนผู้สูงอายุ
               ให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง โดยกิจกรรมของกองทุนจะแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก ๆ คือ การให้การ

               สนับสนุนโครงการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุ การกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพและการให้ความช่วยเหลือ
               ผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาความเดือนร้อน

                           (2.4) นโยบายและหลักการอื่น ๆ


                           (2.4.1) ปฏิญญาผู้สูงอายุ พ.ศ. 2542
                           ปฏิญญาดังกล่าวเป็นพันธกรณีที่มีต้นแบบมาจาก หลักการในอนุสัญญาระหว่างประเทศ โดย
               ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2542 ประกอบกับองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีสากลว่า

               ด้วยผู้สูงอายุ รัฐบาล องค์กรเอกชน ประชาชน และสถาบันต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงศักดิ์ศรีและคุณค่าของ
               ผู้สูงอายุ ซึ่งได้ท าประโยชน์ในฐานะ “ผู้ให้” แก่สังคมมาโดยตลอด ดังนั้นจึงควรได้รับผลในฐานะเป็น “ผู้รับ”
               จาก  สังคมด้วย

                           ปฏิญญาผู้สูงอายุไทยจึงเป็นพันธกรณีเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับการคุ้มครอง
               และพิทักษ์สิทธิ ซึ่งได้ก าหนดสาระส าคัญเกี่ยวกับความสามารถของผู้สูงอายุไว้ใน ข้อ 3 ผู้สูงอายุควรได้รับ
               โอกาสในการศึกษาเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการทาง

               สังคมอันเป็นประโยชน์ในการด ารงชีวิต เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมรอบด้าน เพื่อสามารถปรับบทบาท
   322   323   324   325   326   327   328   329   330   331   332