Page 324 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 324
266 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ผู้สูงอายุและอ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพเป็น
รายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมจากรัฐเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราชการ 2550 มาตรา 53 ที่ก าหนดให้บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การ
ยังชีพ มีสิทธิได้รับสวัสดิการสิ่งอ านวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรีและความช่วยเหลือที่
เหมาะสมจากรัฐ
(2.2.3) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่ก าหนดบทบาท สิทธิและหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่าง
เอกชนกับเอกชน ซึ่งในกรณีที่ผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางกฎหมายกับบุคคลอื่นในฐานะเอกชนด้วยกัน ย่อมมี
ความสามารถทางกฎหมาย ซึ่งให้สิทธิที่ผู้สูงอายุสามารถจะกระท าได้ ดังเช่นบทบัญญัติ ตามมาตรา 531
บัญญัติว่า “อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้น ท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงใน
กรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาชญากรรมอย่างร้ายแรงตาม
ประมวลกฎหมายลักษณะอาชญากรรม หรือ (2) ถ้าผู้รับได้ท าให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่าง
ร้ายแรง หรือ (3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจ าเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยัง
สามารถจะให้ได้” มาตราดังกล่าวเป็นกลไกหนึ่งในการคุ้มครองให้ผู้สูงอายุสามารถเรียกคืนหรือถอนคืนทรัพย์ที่
ให้ได้ เมื่อผู้รับประพฤติเนรคุณ โดยการประพฤติเนรคุณนั้นจะต้องอยู่ภายใน 3 กรณีดังกล่าวข้างต้น
ซึ่งในการพิจารณาเหตุแห่งการเรียกคืนนั้น ค าพิพากษาของศาลฎีกาที่ 7301/2559 ได้วินิจฉัย
ว่า การใช้ถ้อยค ารุนแรงไร้ความเคารพนับถือเป็นการลบหลู่เหยียดหยาม อกตัญญูต่อบิดามารดาผู้มีพระคุณถือ
เป็นหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้ถอนคืนการให้เพราะจ าเลยประพฤติเนรคุณได้ แต่ในทางตรงกัน
ข้าม ค าพิพากษาของศาลฎีกาที่ 18347/2557 ได้วินิจฉัยว่า การที่จ าเลยกล่าวว่า แม่แก่แล้วอายุตั้ง 90 พูด
กลับไปกลับมา ถ้าไม่มีแม่ฉันก็ดูแลทุกอย่างได้ แม่ออกจากบ้านไปเถอะ ศาลมองว่าการพูดจาดังกล่าวเป็น
เพียงการพูดจาโดยไม่มีสัมมาคาราวะและไม่เคารพย าเกรงโจทก์ผู้เป็นมารดาเท่านั้น ไม่ถึงขาดเป็นหมิ่น
ประมาทอย่างร้ายแรง โจทก์ผู้เป็นมารดาจึงไม่มีสิทธิเรียกถอนคือการให้ได้ จากค าพิพากษาดังกล่าวจะเห็นได้
ว่า มีการวินิจฉัย ตีความความผิดฐานหมิ่นประมาทอย่างรุนแรงไปสองแนวทาง โดยมิได้ค านึงถึงสภาพจิตใจ
ประโยชน์ของผู้เสียหายซึ่งคือผู้สูงอายุเป็นที่ตั้งแต่อย่างใด
นอกจากนั้น ตามมาตรา 1562 บัญญัติว่า “ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือ
คดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้” โดยมาตราดังกล่าว
นั้นมีค าพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2541 ได้อธิบายเกี่ยวกับมาตรา 1562 ที่ห้ามฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่ง
หรือคดีอาญาเป็นบัญญัติที่จ ากัดสิทธิ ซึ่งหมายความว่าห้ามเฉพาะบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายฟ้องบุพการีของตน
เท่านั้น ในกรณีที่ผู้สูงอายุเป็นบุพากรีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีโอกาสที่บุตรจะฟ้องเป็นคดีอาญาหรือคดีแพ่ง
ได้ และมาตรา 1563 บัญญัติว่า “บุตรจ าต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา”จากมาตราดังกล่าวจะเห็นว่า
กฎหมายก าหนดให้บุตร มีหน้าที่ในการเลี้ยงดูให้การอุปการะบิดามารดา จนกระทั่งบิดามารดาจะสิ้นชีวิต
ซึ่งมารตราดังกล่าว ให้สิทธิบิดามารดาซึ่งจะเป็นผู้สูงอายุในภายภาคหน้าในการเรียกร้องค่าขาดอุปการะเลี้ยงดู