Page 325 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 325

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 267

               ให้แก่ตนเองได้ ในกรณีที่มีผู้กระท าให้บุตรถึงแก่ความตายหรือไม่สามารถท างานหาเงินมาอุปการะหรือปฏิบัติ

               ตนเพื่อเป็นการดูแลบิดามารดาได้ โดยศาลจะเป็นผู้เรียกเงินจากผู้กระท าละเมิดและก าหนดค่าอุปการะเลี้ยงดู
               ตามสมควรแก่การด ารงชีพในอนาคตของบิดามารดาที่ก าลังจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ตามค าพิพากษาศาลฎีกาที่
               7119/2541 ประกอบกับตามมาตรา 1629 บัญญัติว่า ทายาทโดยธรรมมีหกล าดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ
               แห่งมาตรา 1630 วรรคสองแต่ละล าดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา พี่
               น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย และ ลุง ป้า น้า อา

               ตามล าดับ
                           จากบทบัญญัติข้างต้น จึงอาจสรุปได้ว่ากฎหมายมีการบัญญัติไปในทางส่งเสริมและรับรอง
               ความสามารถของผู้สูงอายุ รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิแก่ผู้สูงอายุดังนี้

                              1. ความสามารถในการที่เรียกคืนและสิทธิที่จะได้รับการคืนทรัพย์สินในเหตุเนรคุณ ตาม
               มาตรา 531 โดยสิทธิดังกล่าวให้ความคุ้มครองแก่ผู้สูงอายุที่ได้ยกทรัพย์สินให้บุตรหลานของตน แต่ภายหลังผู้
               ได้รับทรัพย์สินนั้น กระท าการประทุษร้ายหรือท าให้เกิดการเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทหรือไม่เลี้ยงดู
               ผู้สูงอายุมีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินที่เคยให้กลับคืนได้
                              2. สิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูจากบุตร ตามมาตรา 1563 โดยสิทธิดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง

               จารีตประเพณีของไทย แต่ดั้งเดิมที่บุตรต้องเคารพบูชาบิดามารดาและแสดงความกตัญญูสนองตอบในกรณีที่
               บิดามารดาแก่ชรา บุตรต้องมีหน้าที่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
                              3. สิทธิที่จะไม่ถูกฟ้องในคดีแพ่งและคดีอาญาจากบุตร ตามมาตรา 1562 โดยสิทธิ

               ดังกล่าวให้ความคุ้มครองแก่ผู้สูงอายุที่จะไม่ถูกลูกหลานฟ้องร้องไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาเรียกคดี
               ประเภทนี้ ว่า คดีอุทลุม แต่ถ้าจะต้องฟ้องร้องโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องให้พนักงานอัยการเป็นผู้ด าเนินคดีให้แทน
                              4. ความสามารถที่จะได้รับและสิทธิในการรับมรดก ตามมาตรา 1629  โดยสิทธิดังกล่าว
               ระบุให้ผู้สูงอายุเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกในล าดับที่ 2 ในฐานะ บิดามารดา, ล าดับที่ 5 ในฐานะ
               ปู่ ย่า ตา ยาย หรือล าดับที่ 6 ในฐานะ ลุง ป้า น้า อา

                           นอกจากความสามารถและสิทธิของผู้สูงอายุภายใต้ประมวลกฎหมายตามที่ได้ยกตัวอย่างไป
               แล้วในข้างต้น ในกฎหมายดังกล่าวยังก าหนดความสามารถของผู้สูงอายุไว้อย่างมากมายเกินกว่าที่จะกล่าวได้
               หมด ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการจัดการทรัพย์สิน ความสามารถในการท าสัญญา ความสามารถในการ

               จัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ความสามารถในการกู้ยืม ซึ่งความสามารถเหล่านี้บทบัญญัติในประมวลกฎหมาย
               แพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้เป็นการทั่วไป ครอบคลุมบุคคลทุกประเภท มิได้เฉพาะเจาะจงเพียงผู้สูงอายุ
               เท่านั้น

                           (2.2.4) พระราชบัญญัติประกันสังคม
                           ในส่วนของกองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพ เริ่มมีการบังคับใช้เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.

               2541 โดยมีสาระส าคัญในการก าหนดสิทธิของผู้ประกันตนตาม มาตรา 7615 และมาตรา 7716 อันเป็น
               บทบัญญัติที่ให้ประโยชน์แก่ผู้ท างานองค์กรเอกชนที่จะมีสวัสดิการในยามที่เข้าสู่วัยสูงอายุโดยกฎหมาย
   320   321   322   323   324   325   326   327   328   329   330