Page 323 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 323

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 265

               มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ซึ่งรัฐจะต้องจัดให้มีแผนการศึกษา

               แห่งชาติเพื่อใช้ในการด าเนินการและตรวจสอบการด าเนินการเกี่ยวกับการศึกษาของชาติต่อไปด้วย
                           นอกจากความสามารถข้างต้นแล้ว ผู้สูงอายุยังมีความสามารถในการที่จะใช้สิทธิต่าง ๆ ที่
                                                                                   274
               รัฐธรรมนูญก าหนดไว้ให้ อย่างเท่าเทียมกับบุคคลวัยอื่น ๆ เช่น ผู้สูงอายุมีเสรีภาพในการชุมนุม   มีเสรีภาพ
                                                                        275
               ในการร่วมกลุ่มเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธุ์ หรือการรวมกลุ่มในลักษณะอื่น ๆ   รวมไปถึงความสามารถใน
                                                                                  277
               การที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องจากหน่วยงานราชการ  มีความสามารถที่จะร้องเรียน ร้องทุกข์  หรือฟ้องร้อง
                                                   276
                                                       278
               หน่วยงานราชการที่กระท าการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุได้   ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังก าหนดให้ผู้สูงอายุมี
               ฐานะที่เป็นบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีความสามารถที่จะเลือกนับถือศาสนาใด ๆ ตามที่ตน
               พึงพอใจและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย  และสามารถยื่นเสนอร่างกฎหมายได้อีกด้วย โดยที่ไม่มีขอบเขต
                                             279
               หรือข้อจ ากัดที่ว่ากฎหมายนั้นจะเป็นกฎหมายเกี่ยวกับผู้สูงอายุหรือไม่ก็ตาม
                                                                    280
                            (2.2) กฎหมายล าดับพระราชบัญญัติ


                           (2.2.1) พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
                           การให้การส่งเสริมและรับรองความสามารถของผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่รัฐจะต้องให้ความส าคัญและ
               จัดให้มีขึ้น โดยความสามารถทางกฎหมายซึ่งผู้สูงอายุมีและได้รับการรับรองถูกบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ
               ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นการก าหนดให้บุคคลที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทยให้มีสิทธิ

               ได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุนในด้านต่าง ๆ ตาม มาตรา 11 (2) ผู้สูงอายุสามารถที่จะได้รับการศึกษา
               การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการด าเนินชีวิต จัดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนและให้มีหลักสูตร
               การศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ถึงขั้นอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่องทั้งในระบบ นอกระบบ
               ตามอัธยาศัยและมีรายการต่าง ๆ เพื่อผู้สูงอายุ และใน (4) ผู้สูงอายุสามารถที่จะพัฒนาตนเองและมีส่วนร่วมใน

               กิจกรรมทางสังคม และการรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายชุมชน โดยมีการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มหรือชมรม
               ผู้สูงอายุ

                            (2.2.2) พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
                           พระราชบัญญัติผู้สูงอายุฉบับที่ 2 นี้เป็นฉบับที่แก้ไขจากฉบับที่ 1 พ.ศ. 2546 โดยได้มีการ
               แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับอ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ สิทธิเรื่องเบี้ยยังชีพของ





                    274 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 44.
                    275 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 42.
                    276 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560,มาตรา 41 (1).
                    277 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 41 (2).
                    278 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 41 (3).
                    279 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 31.
                    280 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 133.
   318   319   320   321   322   323   324   325   326   327   328