Page 258 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 258

200 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

             พอเพียง รู้จักการออมผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนส ารองเลี้ยงชีพ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของลูกจ้างทั้ง
             ก่อนและหลังเกษียณอายุเพื่อไม่เป็นภาระของลูกหลานและสังคม


                       4.1.1.4 การรองรับหลักการหรือมาตรการสากล
                       ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุประเด็นการจ้างงานหรือการสร้างอาชีพให้ผู้สูงอายุที่ได้
             ด าเนินการและก าลังด าเนินการโดยรัฐบาลนั้น จากการทบทวนเอกสารในหัวข้อต่าง ๆ ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า
             รัฐบาลไทยได้ปฏิบัติตามภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ โดยประเทศไทย ซึ่งเป็นภาคีของพันธกรณีดังกล่าว

             ได้น าหลักการสากลมาบัญญัติรับรองไว้ในยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมไป
             ถึงการออกกฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
             ดังต่อไปนี้
                       (1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International

             Covenant on Economic, Social and Cultural Rights หรือ ICESCR)
                       กติกาดังกล่าวเป็นหนึ่งในสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศภายใต้
             สหประชาชาติที่ให้การปกป้องและคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของบุคคลทุกคนโดยไม่
             เลือกปฏิบัติ โดยที่ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในภาคีกติกา ICESCR ซึ่งมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม

             2542 โดยการปกป้องและคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมดังกล่าว มีความสอดคล้อง
             เชื่อมโยงกับการส่งเสริมการจ้างงานของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้อันเป็นกลไกที่
             ส าคัญในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ
                       (2) อนุสัญ ญ าว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with

             Disabilities หรือ CRPD)
                       อนุสัญญาฉบับนี้ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 โดยมีเนื้อหาสาระ
             ส่งเสริมคุ้มครองและประกันสิทธิให้กับคนพิการทั้งปวง ได้ใช้ประโยชน์จากสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้น
             พื้นฐานทั้งปวงอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน ส่งเสริมการเคารพในศักดิ์ศรี และการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคน

             พิการทุกรูปแบบ โดยการคุ้มครองสิทธิดังกล่าว รวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีความพิการด้วย ดังข้อก าหนดใน ข้อ 27
             รัฐภาคียอมรับสิทธิของคนพิการบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันกับบุคคลอื่นทั้งนี้รวมถึงสิทธิในโอกาสที่จะหาเลี้ยงชีพ
             โดยการท างานที่ตนเป็นผู้ตัดสินใจเลือกโดยอิสระและได้รับการยอมรับในตลาดแรงงานและท างานใน
             สภาพแวดล้อมการท างานที่เปิดกว้างร่วมกันและที่คนพิการสามารถเข้าถึงได้ ให้รัฐภาคีปกป้องและส่งเสริมให้

             การใช้สิทธิของคนพิการในการท างานดังกล่าวเป็นจริง รวมถึงผู้ซึ่งได้รับความพิการในระหว่างการจ้างงาน โดย
             การด าเนินตามขั้นตอนที่เหมาะสม รวมถึงการตรากฎหมายและข้อ 28 มาตรฐานความเป็นอยู่และความ
             คุ้มครองทางสังคมอย่างเพียงพอ กล่าวคือ รัฐภาคียอมรับถึงสิทธิของคนพิการในการได้รับความคุ้มครองทาง
             สังคมและการอุปโภคสิทธินั้น โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความพิการและให้รัฐภาคีด าเนิน

             ขั้นตอนเพื่อปกป้องและส่งเสริมให้สิทธินี้เกิดขึ้นได้จริง ทั้งนี้รวมถึงมาตรการการประกันการเข้าถึงโปรแกรมการ
             คุ้มครองทางสังคมและโปรแกรมลดความยากจนส าหรับคนพิการโดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีและเด็กพิการและ
   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263