Page 262 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 262

204 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

             รัฐมีหน้าที่ต้องด าเนินการเพื่อให้ประชาชนด าเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ จึงกล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
             ยังคงค านึงถึงสิทธิสวัสดิการของผู้สูงอายุโดยให้ความส าคัญที่มากกว่าเดิม


                          (2.2) กฎหมายล าดับพระราชบัญญัติ
                          (2.2.1) พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
                          พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมีเจตนารมณ์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับสิทธิ โดยได้
             ก าหนดไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 11 ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ท้องถิ่น มีหน้าที่

             จัดบริการให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย เช่น ให้มีคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ หรือ กผส.
             มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบและเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและแผนหลักเกี่ยวกับการคุ้มครอง
             การส่งเสริม และการสนับสนุน สถานภาพ บทบาท และกิจกรรมของผู้สูงอายุ ทั้งส่วนของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ
                                                                     235
             เอกชน ตลอดจนสถาบันครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น  นอกจากนี้ พระราชบัญญัติ
             ผู้สูงอายุ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 มีการแก้ไขในมาตรา 15 โดยให้มีการเรียกเก็บเงินสนับสนุนเข้ากองทุน
             ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อการให้เงินช่วยเหลือเพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย จึงมีการเรียก
             เก็บจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับ สินค้าสุราและยาสูบในอัตราร้อยละสองของภาษีที่เก็บ
             จากสุราและยาสูบตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต ดังนั้น ในภาพรวมกฎหมายฉบับนี้จึงเป็นหัวใจส าคัญใน

             การขับเคลื่อนขององคาพยพต่าง ๆ ตลอดจนการออกกฎหมาย ประกาศ กฎกระทรวง ค าสั่ง ภายใต้
             พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546

                          (2.2.2) พระราชบัญญัติสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546

                          พระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายแม่บทในการจัดสวัสดิการสังคมทั้งในส่วนของภาครัฐ
             และภาคเอกชน ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ
             องค์กรอื่น ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคม จึงได้มีก าหนดบุคคลผู้เข้าข่ายได้รับการจัดสวัสดิการ
             สังคม ตลอดจนภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนตามกฎหมายฉบับนี้ อาทิ ในมาตรา 3 ได้ให้

             ค านิยามของสวัสดิการสังคมไว้ว่า “ระบบการจัดบริการทางสังคมซึ่งเกี่ยวกับการป้องกัน การแก้ไขปัญหา การ
             พัฒนา และการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อตอบสนองความจ าเป็นขั้นพื้นฐานของประชาชน ให้มี
             คุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึง เหมาะสมเป็นธรรม และให้เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งทางด้าน
             การศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การท างาน และการมีรายได้ นันทนาการ กระบวนการยุติธรรม และ

             บริการทางสังคมทั่วไป โดยค านึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิที่ประชาชนจะต้องได้รับ และการมีส่วนร่วมใน
             การจัดสวัสดิการสังคมทุกระดับ” ส่วน ผู้รับบริการสวัสดิการสังคม มีความหมายว่า “บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่ง
             อยู่ในสภาวะยากล าบากหรือที่จ าต้องได้รับความช่วยเหลือ เช่น เด็ก เยาวชน คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการ หรือ
             ทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ถูกละเมิดทางเพศ หรือกลุ่มบุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการก าหนด” หรือในหมวด 1

             แนวการจัดสวัสดิการสังคม มาตรา 5 วางหลักไว้ว่า การจัดสวัสดิการสังคมต้องค านึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ คือ ต้อง


                  235 จาก สรุปสาระส าคัญของพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546, โดย ยงยุทธ ภู่ประดับกฤต, 2547, สืบค้นจาก
             http://web.krisdika.go.th/data/lawabout/lawdetail/lawdetail_008.htm
   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266   267