Page 259 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 259
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 201
ผู้สูงอายุที่พิการและประกันการเข้าถึงโปรแกรมและสิทธิประโยชน์หลังการเกษียณอายุส าหรับคนพิการอย่าง
เท่าเทียม
(3) แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยผู้สูงอายุ (The Madrid International Plan
of Action on Ageing - MIPAA) ซึ่งเป็นพันธกรณีระหว่างประเทศด้านผู้สูงอายุภายใต้กรอบขององค์การ
สหประชาชาติที่ไทยเป็นประเทศภาคีสมาชิก สาระส าคัญของแผนปฏิบัติการ คือ การขจัดปัญหาการเลือก
ปฏิบัติในการจ้างงานหรือการใช้แรงงานผู้สูงอายุ
(4) การขับเคลื่อนการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุในภูมิภาคอาเซียน กรอบอาเซียน ได้มีข้อตกลง
ความร่วมมือด้านผู้สูงอายุ ซึ่งมีสาระส าคัญเกี่ยวกับนโยบายในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้
ในปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ: การเพิ่มขีดความสามารถของผู้สูงอายุในอาเซียน
(Kuala Lumpur Declaration on Ageing: Empowering Older Persons in ASEAN) ได้กล่าวถึงการเพิ่ม
ขีดความสามารถของผู้สูงอายุในอาเซียน พ.ศ. 2558 โดยมีเนื้อหาเป็นการตระหนักว่า ภูมิภาคอาเซียน
จ าเป็นต้องปรับการดูแลสุขภาพและระบบการสนับสนุนทางสังคมเพื่อตอบสนองความท้าทายใหม่ และ
ตระหนักถึงการสร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุให้แข็งแรง มีความกระตือรือร้นและสร้างสรรค์โดยจัดให้มี
สภาพแวดล้อมที่เอื้ออ านวยและเกื้อหนุน โดยเนื้อหาส าคัญของแถลงการณ์นี้ที่มีส่วนส่งเสริมการจ้างงานของ
ผู้สูงอายุคือ การเพิ่มขีดความสามารถด้านเศรษฐกิจ ท าให้ผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการ
ท างานสามารถอยู่ในระบบแรงงาน และท างานหาเลี้ยงชีพตนเองต่อไปได้
4.1.2 การคุ้มครองทางสังคม
4.1.2.1 สถานการณ์
การคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) หมายถึง การด าเนินงานเพื่อให้ความคุ้มครอง หรือ
ให้หลักประกันทางสังคมในด้านต่าง ๆ อาทิ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ระบบประกันสังคม และบริการสังคม
โดยให้ความส าคัญแก่กลุ่มประชากรที่ยากจนและด้อยโอกาส เพื่อให้ได้รับสิทธิทางสังคม อันเป็นความร่วมมือ
ในการด าเนินงานระหว่างภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ การคุ้มครองทางสังคมมีหลักการพื้นฐาน 4 ประการ
231
232
ประกอบด้วย
ประการที่ 1 ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขขั้นพื้นฐานโดยถ้วนหน้า
ประการที่ 2 เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงการโภชนาการ การศึกษา และการดูแลได้ด้วยการที่
ผู้ปกครองได้รับสิ่งที่มิใช่ตัวเงิน หรือไดรับเงินช่วยเหลือซึ่งไม่ควรต่ ากว่าเส้นความยากจนที่ประเทศก าหนด
231 จาก ฐานความคุ้มครองทางสังคมในประเทศไทย, โดย เวทีภาคประชาชน, ม.ป.ป.
232 จาก การเจรจาระดับชาติบนฐานของการประเมินเรื่องการคุ้มครองทางสังคมในประเทศไทย การคุ้มครองทางสังคม:
ความส าคัญอันดับแรกเชิงยุทธศาสตร์ของกรอบภาคีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของสหประชาชาติและประเทศไทยส าหรับปี
พ .ศ 2555-2559, โดย International Labour Organization (ILO), 2559, สืบ ค้นจาก https://www.social-
protection.org/gimi/gess/RessourcePDF.do?ressource.ressourceId=24900