Page 260 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 260
202 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ประการที่ 3 ทุกคนที่อยู่ในวัยท างานแต่ไม่สามารถ (หรือไม่ควร เช่น ในกรณีตั้งครรภ์) หาเงิน
มาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างเพียงพอ ควรมีความมั่นคงทางรายได้ขั้นต่ าจากการได้รับเงินช่วยเหลือ
ได้รับสิ่งที่มิใช่ตัวเงินหรือมีระบบประกันการว่างงาน
ประการที่ 4 คนชราและคนพิการมีความมั่นคงทางรายได้โดยการได้รับเงินช่วยเหลือส าหรับ
คนชราและคนพิการหรือได้รับสิ่งที่มิใช่ตัวเงิน
ภายใต้หลักการคุ้มครองทางสังคมข้างต้น ในส่วนของคนชราและคนพิการนั้น รัฐบาลได้มีการ
ด าเนินมาตรการก าหนดยุทธศาสตร์ชาติ การบัญญัติกฎหมาย และกลไก เพื่อรองรับมาตรการสากลภายใต้
สนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ดังต่อไปนี้
4.1.2.2 มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(1) ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65 ก าหนดให้รัฐพึงจัดให้มี
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) อันเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลัก
ธรรมาภิบาล เพื่อเป็นกรอบในการจัดท าแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดัน
ร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันได้มีการประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย
6 ยุทธศาสตร์ชาติ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องและเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทางสังคมใน
ผู้สูงอายุดังนี้
(1.1) ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า การพัฒนาผู้สูงอายุจะช่วยสร้างเสริมองค์ความรู้แก่ผู้สูงอายุ
เอง และผู้สูงอายุจะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัยได้ ดังนั้น ต้องมีการยกระดับการศึกษาและการ
เรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึงในทุกช่วงวัย ตลอดจนการสร้างค่านิยม จิตส านึกที่ถูกต้องในการมอง
ผู้สูงอายุอย่างมีคุณค่า ทั้งการปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ ซึ่งจะช่วยให้
ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองจากสังคมมากขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และมีความสุขในการด าเนินชีวิต
(1.2) ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
ต้องสร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมทางสังคมที่เอื้อต่อการด ารงชีวิตส าหรับทุกกลุ่มทุกวัย
โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับประชาชนทุกกลุ่มทุกวัยตามหลักอารยสถาปัตย์
(Universal Design) เช่น ทางเดินเท้า ระบบขนส่งสาธารณะ พื้นที่สาธารณะ ที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ การลงทุน
ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องให้ประชาชนในพื้นที่ชายขอบสามารถเข้าถึงข้อมูล
และการสื่อสารได้สะดวกและรวดเร็ว กรณีดังกล่าวผู้สูงอายุบางรายจัดอยู่ในกลุ่มชายขอบเช่นกัน รวมทั้ง
สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมส าหรับการด าเนินชีวิตให้แก่กลุ่มคนที่มีความต้องการพิเศษ เช่น
นวัตกรรมป้องกันการล้มในผู้สูงอายุ หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ การทดสอบภาวะสมองเสื่อมผ่านอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กายเทียมส าหรับผู้พิการ เป็นต้น