Page 261 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 261

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 203

                         (2) กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง

                         การคุ้มครองทางสังคมเป็นการสร้างการเข้าถึงในทุกพื้นที่ให้กับประชาชนในทุกระดับเพื่อให้ทุก
               คนมีสิทธิและใช้สิทธิดังกล่าวได้ตามที่กฎหมาบรับรอง ดังนั้น สิทธิว่าด้วยการคุ้มครองทางสังคมจึง
               ประกอบด้วยกฎหมาย นโยบาย ระเบียบ ค าสั่ง ตลอดจนมาตรการต่าง ๆ ซึ่งตราขึ้นมาเพื่อให้ความคุ้มครอง
               ผู้สูงอายุในทุกด้าน โดยมีรายละเอียดดังนี้


                                                                     233
                           (2.1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
                           รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้บัญญัติสิทธิและหน้าที่ของปวงชาวไทยซึ่ง
               รวมถึงการคุ้มครองผู้สูงอายุด้วย โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีสาระส าคัญใน

               การคุ้มครองผู้สูงอายุ ดังนี้
                           รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับรองสิทธิเสรีภาพของผู้สูงอายุให้ได้รับการคุ้มครองมากขึ้นกว่า
               รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 และ 2550 อาทิ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ในมาตรา 27 วรรค
               สาม บัญญัติว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นก าเนิด เชื้อ

               ชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม
               ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
               หรือเหตุอื่นใด จะกระท ามิได้” มาตรา 48 วรรคสอง บัญญัติว่า “บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีและไม่มีรายได้
               เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามที่กฎหมาย

               บัญญัติ” และ หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 71 วรรคสาม บัญญัติว่า “รัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก
               เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถด ารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และ
               คุ้มครองป้องกันมิให้บุคคลดังกล่าวถูกใช้ความรุนแรง หรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม รวมตลอดทั้งให้การบ าบัด
               ฟื้นฟูและเยียวยาผู้ถูกกระท าการดังกล่าว” จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญมีการบัญญัติเรื่องการขจัดการเลือกปฏิบัติ

               โดยไม่เป็นธรรมเพื่อป้องกันการละเมิดโดยมิชอบต่อผู้สูงอายุ ในมาตรา 27 รวมถึงมาตรา 48 มีการก าหนดให้
               บุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ เนื่องจากบุคคลที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ส่วน
               ใหญ่ต้องเกษียณตัวเองตามกฎหมายหรือเป็นบุคคลว่างงาน จึงมีความยากล าบากในการด าเนินชีวิต โดยเฉพาะ
                                                               234
               ในกลุ่มครอบครัวผู้มีรายได้น้อยมักมีหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ  และในมาตรา 71 ได้กล่าวถึงภารกิจซึ่ง



                    233 บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง สามารถพิจารณาได้ในตารางที่ 13 ตารางเปรียบเทียบสิทธิของผู้สูงอายุตาม
               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, พุทธศักราช 2550 และพุทธศักราช 2560.
                    234 จาก สถาบันอนาคตไทยศึกษา ซีรี่ส์งานศึกษาเรื่องความเหลื่อมล้ า 8 ข้อเท็จจริง ความเหลื่อมล้ าในไทย, โดย มูลนิธิ
               สถาบันอนาคตไทยศึกษา, 2557, สืบคันจาก https://thaipublica.org/wp-content/uploads/2014/04/8-%E0%B8
               %82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%
               A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A
               B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B3
               %E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2_full_report.pdf?fbclid=IwAR17nR4h7MqG
               Ojm1lSIjUez6enztg_L1CCydRsy75PbA92jfmCKTZ5Q9pgY
   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266