Page 252 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 252
194 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
3. ผู้สูงอายุที่จะเข้าท างานจะเป็นลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ้างอยู่ก่อน
แล้วหรือเป็นผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนหางานไว้กับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ก็ได้
4. ผู้สูงอายุที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลรับเข้าท างาน ต้องไม่เป็นและไม่เคยเป็น
กรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ้างผู้สูงอายุดังกล่าว หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคลในเครือเดียวกัน กรณีดังกล่าว กฎหมายมีเจตนาให้เจ้าของกิจการจ้างบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการหรือผู้
ถือหุ้นของตนเองเข้าท างาน เพื่อประโยชน์ในการสร้างแรงงานและป้องกันการวางแผนภาษีอากรอีกประการ
หนึ่งด้วย
การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานผู้สูงอายุเป็นมาตรการถาวร
หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายก าหนดก็สามารถใช้สิทธิใน
การหักรายจ่ายได้ถึง 2 เท่าของจ านวนที่ได้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุไปจริง แต่ไม่เกินจ านวน 15,000 บาท ดังนั้น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลก็จะมีสิทธิหักรายจ่ายส าหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้สูงสุดถึง 30,000 บาท สิทธิ
ประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว นอกจากจะช่วยประหยัดภาษีให้แก่ผู้ประกอบการแล้ว ยังเป็นการสร้างงานให้แก่
ผู้สูงอายุที่มากความสามารถและยังคงมีก าลังกายที่สามารถท างานให้แก่ผู้ประกอบการ และที่ส าคัญเป็นการ
230
ช่วยลดงบประมาณภาครัฐด้านสวัสดิการชราภาพในระยะยาวได้อีกด้วย
(2.3) กฎหมายล าดับรอง
(2.3.1) ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การให้
ข้าราชการส านักงาน ป.ป.ช. ซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2553
ประกาศดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของส านักงานคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้การด าเนินงาน การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของ
ส านักงาน ป.ป.ช. ด าเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ไม่เป็นการสะดุด หยุดชะงัก
ของงาน โดยมีการก าหนดให้ข้าราชการในส านักงาน ป.ป.ช. ที่ปฏิบัติหน้าที่ในทางวิชาการหรือหน้าที่อื่นที่
จ าเป็นต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัว และมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ สามารถรับราชการต่อไปอีกไม่เกิน 10 ปี
จากมาตรการทางกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ในสังคมผู้สูงอายุปัจจุบันและสถานะทาง
เศรษฐกิจการขาดแคลนแรงงาน หน่วยงานรัฐของไทยได้มีการพยายามปรับตัว ปรับกฎเกณฑ์ให้มีการจ้างงาน
ผู้สูงอายุที่เดิมรับราชการอยู่ภายในส านักงาน ป.ป.ช. ให้ได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป เนื่องจากเป็นต าแหน่งที่ต้องใช้
บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะตัวและมีอัตราการขาดแคลนบุคลากรสูง
(2.3.2) กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับ
ราชการต่อไป พ.ศ. 2552
มาตรการดังกล่าว เป็นมาตรการที่ออกมาใช้บังคับกับข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยระบุให้
ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์สามารถรับราชการต่อไปได้เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้น
230 จาก “จ้างผู้สูงอายุ สร้างงานช่วยประหยัดภาษี,” โดย เพชรรัตน์ ศุภนิมิตรกุลกิจ, 2560, ธรรมนิติ, น. 25.