Page 251 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 251

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 193

               สิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานก็สามารถบอกเลิกสัญญาแก่กัน เมื่อใดก็ได้ตามความต้องการ แต่การเลิกจ้างนี้

               กฎหมายก าหนดให้นายจ้างต้องให้เหตุผลในการเลิกจ้างไม่ใช่สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ตามอ าเภอใจ มิฉะนั้น
               นายจ้างอาจถูกลูกจ้างฟ้องร้องเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง
               ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ซึ่งจะส่งผลให้นายจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่
               ไม่เป็นธรรม หรืออาจต้องรับลูกจ้างกลับเข้าท างานในต าแหน่งเดิมและอัตราค่าจ้างเดิมได้
                           ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุเกษียณอายุ กฎหมายไทย ไม่มีบทบัญญัติเรื่องการครบ

               ก าหนดอายุการเกษียณอายุของลูกจ้างภาคเอกชนไว้เป็นการเฉพาะแต่เป็นเรื่องที่นายจ้างสามารถก าหนดเอง
               ว่าให้ลูกจ้างมีการเกษียณอายุเมื่อใด ในภาคเอกชนการที่นายจ้างก าหนดอายุการเกษียณอายุของลูกจ้างมี
               สาเหตุมาจากนายจ้างเห็นว่า เมื่อลูกจ้างมีอายุมากแล้ว สุขภาพและประสิทธิภาพหรือสมรรถนะในการท างาน

               คงจะลดต่ าลง อาจท างานไม่ได้ตรงตามเป้าหมาย จึงได้ก าหนดให้มีข้อตกลงให้ลูกจ้างออกจากงานเมื่อครบอายุ
               เกษียณเมื่อครบก าหนดการเกษียณอายุของลูกจ้างสูงอายุ และนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเนื่องจาก
               เกษียณอายุ กรณีนี้ถือว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา 118 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง
               แรงงาน พ.ศ. 2541 แนวคิดพิพากษาของศาลได้วินิจฉัยไว้ว่า การเลิกจ้างด้วยเหตุแห่งอายุหรือเหตุแห่ง
               เกษียณอายุไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

                           อย่างไรก็ตามเมื่อลูกจ้างมีอายุครบเกณฑ์เกษียณไม่ได้ท าให้สัญญาจ้างแรงงานระหว่าง
               นายจ้างและลูกจ้างเป็นอันระงับไปเองไม่ ซึ่งหากลูกจ้างสูงอายุมีอายุครบเกณฑ์เกษียณแล้วแต่นายจ้างไม่ได้
               บอกเลิกสัญญา สัญญาจ้างแรงงานยังคงด าเนินต่อไป เพราะฉะนั้นการที่นายจ้างให้ลูกจ้างสูงอายุท างานต่อไป

               แม้เป็นภายหลังก าหนดเกษียณอายุที่นายจ้างก าหนดไว้แล้วก็ตาม แต่นายจ้างไม่ได้บอกเลิกสัญญาและไม่
               ถือเอาก าหนดเกษียณอายุมาเป็นสาระส าคัญในการเลิกสัญญาจ้าง ซึ่งนายจ้างอาจยังมองเห็นว่าลูกยังมีก าลัง
               ความสามารถในการท างานอยู่และภายหลังจากที่ลูกจ้างท างานต่อไป นายจ้างต้องการเลิกสัญญาจ้าง
               การพิจารณาการเลิกจ้างลูกจ้างว่าเป็นธรรมหรือไม่นั้นต้องพิจารณาจากสาเหตุการเลิกจ้างของนายจ้าง
               เป็นส าคัญ


                           (2.2.6) ประมวลรัษฎากร
                           กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายภาษีอากร ที่รวบรวมบทบัญญัติทางภาษีอากรหลากหลาย

               ประเภท รวมถึงมาตรการทางภาษีต่าง ๆ รวมถึงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการจ้างแรงงาน
               ผู้สูงอายุในประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานภาคเอกชนจ้างแรงงานผู้สูงอายุเข้าท างาน ช่วยสนับสนุนให้
               ผู้สูงอายุมีโอกาสได้ท างานต่อ ท าให้มีรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอ ลดความเหลื่อมล้ าทางสังคมและบรรเทา
               ภาระงบประมาณภาครัฐด้านสวัสดิการชราภาพในระยะยาวได้อีกด้วย โดยมาตรการดังกล่าว มีสาระส าคัญให้

               บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีการจ้างผู้สูงอายุเข้าท างานในสถานประกอบการของตน สามารถที่จะใช้
               สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการหักรายจ่ายได้ 2 เท่า โดยที่ผู้สูงอายุที่จะจ้างท างานนั้น ต้องมีลักษณะดังนี้
                           1. ต้องมีอายุ 60 ปี ขึ้นไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์
                           2. ต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น (แรงงงานต่างด้าวจึงไม่สามารถใช้สิทธิได้)
   246   247   248   249   250   251   252   253   254   255   256