Page 249 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 249

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 191

                           ในส่วนที่เกี่ยวกับลูกจ้างสูงอายุ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ให้ความ

               คุ้มครองในกรณีประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ ได้แก่ เงินเลี้ยงชีพรายเดือนหรือที่เรียกว่า เงินบ านาญชราภาพ
               และเงินบ าเหน็จที่จ่ายให้ครั้งเดียวหรือที่เรียกว่า เงินบ าเหน็จชราภาพ
                           สิทธิของลูกจ้างสูงอายุที่จะได้รับเงินบ านาญชราภาพ คือ ลูกจ้างต้องเป็นผู้ประกันตนที่
               จ่ายเงินสมทบมาเท่ากับหรือเกินกว่า 180 เดือนหรือ 15 ปี หรือมากกว่า 15 ปี และมีอายุ 55 ปี และความเป็น
               ผู้ประกันตนสิ้นสุดลง ส่วนกรณีลูกจ้างจ่ายเงินสมทบมาไม่ครบ 180 เดือนและความเป็นลูกจ้างได้สิ้นสุดลง

               ลูกจ้างจะได้รับเงินบ าเหน็จชราภาพ ในกรณีผู้รับบ านาญชราภาพกลับเข้ามาเป็นผู้ประกันให้งดจ่ายเงินบ านาญ
               ชราภาพจนกว่าความเป็นผู้ประกันตนจะสิ้นสุดลงอีก ดังนั้นจึงมีผลท าให้ลูกจ้างที่รับบ านาญชราภาพอยู่แล้ว ถ้า
               กลับเข้าไปเป็นลูกจ้างอีกครั้ง จะไม่ได้รับเงินบ านาญชราภาพที่เคยรับอยู่เดิม และลูกจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบ

               กองทุนประกันสังคมต่อไปจนกว่าจะสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ทั้งนี้ส าหรับเงื่อนไขการกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน
               ตาม มาตรา 33 ก าหนดคุณสมบัติเรื่องอายุของผู้ประกันตนไว้แล้ว ดังนั้น ลูกจ้างต้องกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน
               ในขณะที่มีอายุไม่เกิน 60 ปี


                           (2.2.4) พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
                           พระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ได้ตราขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่ง
               ราชอาณาจักรไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การด าเนินงานเกี่ยวกับคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนต่อ
               สิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ เช่น ให้ผู้สูงอายุมีอาชีพหรือกิจกรรมที่เหมาะสมตามวัย และการจัด

               สวัสดิการจากรัฐที่เพียงพอแก่ผู้สูงอายุเพื่อไม่เป็นภาระแก่สังคมและบุคคลในครอบครัว ในมาตรา 11 แห่ง
               พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ถือเป็นหลักส าคัญที่บัญญัติรับรองสิทธิของผู้สูงอายุให้ได้รับสิทธิการ
               คุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความจ าเป็นขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุให้
               ได้รับการดูแลเอาใจใส่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น

                           พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เป็นภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ
               มั่นคงของมนุษย์ที่ท าหน้าที่รักษาการเป็นหลัก อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือผู้สูงอายุในบางประการที่บัญญัติไว้
               ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 นี้เป็นภารกิจที่อยู่ในอ านาจของส่วนราชการอื่นด้วย เช่น การบริการ
               ทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษ เป็นหน้าที่

               ความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข การประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม เป็นหน้าที่ความ
               รับผิดชอบของกระทรวงแรงงาน การช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะตามความเหมาะสม เป็นหน้าที่ความ
               รับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม เป็นต้น
                           ในส่วนของกระทรวงแรงงานมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการประกอบอาชีพ และการจัดหางาน

               ที่เหมาะสมส าหรับผู้สูงอายุ โดยการส่งเสริม รวมกลุ่ม และการฝึกสอนการประกอบอาชีพให้แก่ผู้สูงอายุที่สนใจ
               เพื่อรองรับภารกิจตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ออกประกาศ
               กระทรวงแรงงาน เรื่องก าหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุน
               ผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม
   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254